BANGSON HOUSE’S

BANGSON HOUSE’S

Text & Photo : FATTSTUDIO 

เมื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้เปิดใช้งานในปี2016 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงตลอดสายซึ่งอาจจะเป็นเรื่องปกติของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร คอนโดมิเนียมน้อยใหญ่ผุดขึ้นมาเช่นดังปกติ แต่ในเวลาเดียวกันคู่สามีภรรยาคู่หนึ่งก็ได้ตัดสินใจจะสร้างบ้านลงบนพื้นที่เล็กๆขนาด 10×10เมตร ซึ่งอยู่ห่างไม่ถึงร้อยเมตรจากสถานีรถไฟฟ้าบางซ่อน แทนที่จะไปเป็นลูกบ้านลอยฟ้าเหมือนคนทำงานทั่วๆไป

การจัดการกับพื้นที่ขนาดเล็กคือสิ่งแรกที่ได้รับการจัดการ หลักจากถูกกฏหมายถอยร่นของอาคาร ทั้งการถอยร่นรอบข้างและด้านหน้าของบ้าน ทำให้ความต้องการเบื้องต้นต้องถูกปรับเปลี่ยน และจัดเรียงความสำคัญเพื่อการเข้าถึงที่เหมาะสมตลอดทั้งสามชั้นของบ้าน

โถงสูงบริเวณชั้นสองเอื้อพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อเป็นส่วนของพื้นที่ทำงานและนั่งเล่นที่ไร้เครื่องปรับอากาศ โดยที่โถงนี้เปิดเปิดรับเจ้าของบ้านจากการทำงานที่เหน็ดเหนื่อยในวันทำงาน โถงเล็กๆสร้างความเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ชั้นสองกับทางเดินเข้าห้องนอน รวมถึงลานซักล้างที่อยู่บนระเบียง ทั้งนี้ยังมอบแสงธรรมชาติจากทุกช่วงเวลาของวันโดยเฉพาะช่วงบ่ายที่แสงจะลอดเร้นจากอิฐช่องลมรูปสี่เหลี่ยมคางหมูช่วยให้พื้นที่น้อยๆนี้มีคุณค่าขึ้นมาในยามพระอาทิตย์อัศดง ทั้งที่บ้านหลังเล็กขนาดนี้การมีโถงแบบนี้คงดูขัดกับการใช้สอยพื้นที่ขนาดเล็กให้คุ้มค่าบนชั้นสาม แต่ด้วยเจตนาของบ้านหลังนี้คือการมอบคุณภาพชีวิตที่ดี มากกว่าเรื่องการใช้ทุกพื้นที่สร้างพื้นที่ใช้สอย

อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งโถงบนชั้นสองอาจจะต้องแลกกับการลดความสำคัญของการใช้งานบางอย่างลง ห้องครัวคือสิ่งหนึ่งในบ้างหลังนี้ที่ถูกลดความสำคัญลง โดยปกติอย่างน้อยห้องทานข้าวกับห้องนั่งเล่นควรจะถูกเชื่อมต่อกัน และครัวยังถูกแบ่งเป็นครัวไทยกับครัวปกติ แต่ในบ้านบางซ่อนนี้ความสำคัญของครัวและพื้นที่ทานอาหารถูกลดลง ถึงแม้เตาและเครื่องดูดควันยังถูกใส่ลงไปในครัวของบ้านหลังนี้แต่ขนาดของครัวก็เล็กกว่าครัวในบ้านปกติ เหตุเพราะการประกอบอาหารที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง ประเด็นเรื่องครัวนี้ถูกปรับให้ลงตัวด้วยนิสัยการใช้งานจริงๆของผู้ใช้ ทำให้มีพื้นที่เหลือพอในการทำโถงที่น่ารักบนชั้นสอง

สุดท้ายแล้วบ้านบางซ่อนไม่ใช่บ้านที่สมบูรณ์แบบ นอกจากเรื่องขนาดของสถานที่แล้ว บ้านหลังนี้ยังเต็มไปด้วยรายละเอียดที่คงเรียกว่าเฉพาะตัว คือคงมีเพียงคู่สามีภรรยาคู่นี้เท่านั้นที่ยอมรับมันได้ ด้วยขั้นตอนการออกแบบที่ปราศจากการต่อรองระหว่างสถาปนิกและลูกค้า แต่ในบ้านหลังนี้กลับกลายเป็นการที่เรียนรู้ไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย คงจะเป็นเสน่ห์ที่ทำให้บ้านจิ๋วหลังนี้สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของทั้งสองคนได้ตามที่ศักพยภาพของมันได้ไม่มากก็น้อย.


Leave A Comment