THE CLASSIC CHAIRS FACTORY

ความคลาสสิกของวันพรุ่งนี้

Text: อริญชัย วีรดุษฎีนนท์
Photo: ฉัตรชัย เจริญพุฒ05เรื่องราวระดับตำนานของ The Classic Chairs (เดอะ คลาสสิก แชร์ส) ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์สไตล์ยุโรป คลาสสิก ย้อนกลับไปเมื่อปี 1957 โดย Paul Kenny (พอล เคนนี่) ซึ่งเป็นนักค้าของเก่าชื่อดังชาวออสเตรเลีย ที่อาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ เขาเริ่มต้นธุรกิจของเก่า (Antique) และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเฟอร์นิเจอร์ในปี 1757 – 1835 ได้รับความไว้วางใจให้เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบและบูรณะพระราชวัง พิพิธภัณฑ์ และโรงแรมหรูอีกหลายแห่งทั่วโลก ทำให้เขาต้องเสาะแสวงหาแหล่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อป้อนลูกค้าของเขา

เป็นความบังเอิญหรือเปล่าไม่รู้ ที่ Paul Kenny ได้มาเยือนเมืองไทย แล้วได้เจอกับคุณฐิรัฐ นาถวิริยกุล ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานเฟอร์นิเจอร์อยู่ก่อนแล้ว ด้วยความประทับใจในการผลิตที่มีมาตั้งแต่โบราณของช่างฝีมือคนไทย ความละเมียดละไมและอ่อนช้อยไม่แพ้ยุโรป ทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจร่วมทุนกันผลิตเฟอร์นิเจอร์ภายใต้แบรนด์ The Classic Chairs มาจนถึงทุกวันนี้

โดยอยู่ภายใต้การดูแลของทั้ง Paul Kenny, Sally Kenny (ลูกสาวของ Paul) และคุณฐิรัฐ ในเรื่องการออกแบบที่ถูกต้องผ่านการเข้าในใจประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง The Classic Chairs ผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ในช่วงปี 1740 – 1840 เน้นความประณีตบรรจงของลวดลายแกะสลัก สีสัน และวัตถุดิบที่ใช้ผลิต สะท้อนศิลปวัฒนธรรมในแต่ละยุคอย่างโดดเด่น ภายในการผลิตแบบดั้งเดิม ที่พิธีพิถันทุกขั้นตอนจากช่างมากฝีมือ

1/4

และแล้วเราก็มาถึงโรงงานผลิตของ The Classic Chairs ย่านปากเกร็ด บนถนนสายเล็กๆ ที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างถนน 345 และถนนกาญจนาภิเษก โรงงานแห่งนี้อาจจะหายากอยู่สักหน่อยสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย แต่คงไม่ยากเกินไปถ้าเราพยายาม สิ่งที่สะดุดตาเมื่อแรกพบคงเป็นกองไม้ขนาดมหึมาที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ไม้ประดู่ คือคำตอบของเรื่องราวทั้งหมด ด้วยคุณสมบัติของไม้ประดู่ที่คงทน แข็งแรง เป็นไม้เนื้อแข็ง มีน้ำหนัก มอดไม่กิน ไม้ประดู่หรือไม้อื่นๆ ตามออเดอร์ลูกค้าจะถูกส่งเข้าสู่การอบไม้ เพื่อไล่ความชื้นออกให้หมด จากนั้นก็นำมาตัดแต่งเป็นชิ้นส่วนตามขนาดที่ต้องการ เพื่อรอเข้าสู่กระบวนแปรรูปเป็นชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ต่อไป

02

กระบวนถัดมาเป็นแผนกชิ้นส่วน ซึ่งนำไม้มาแปรรูปเป็นชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ตามแบบที่ได้มา ตั้งแต่การตัด ไส เจียร ดัดโค้ง เป็นต้น ชิ้นส่วนต่างๆ ที่แปรรูปเรียบร้อยแล้วจะถูกเก็บไว้ตรงพื้นที่เก็บชิ้นส่วน รอเบิกไปขึ้นโครงสร้าง ต่อมาเข้าสู่แผนกขึ้นรูป ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่งานซิกเนอเจอร์ของ The Classic Chairs กับงานลูกค้าโปรเจ็กต์ ซึ่งถูกแยกออกจากนั้น อาจด้วยวิธีการทำงานและขั้นตอนที่มีความละเอียดต่างกันไป การขึ้นโครงจะก็จะเน้นไปที่โครงสร้างหลักของเฟอ์นิเจอร์ชิ้นนั้น จะยังไม่ได้ประกอบเป็นเสินค้าเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นจึงนำเข้าสู่แผนกประกอบ ที่นำชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ขาตู้ บานพับ ลิ้นชัก ฯลฯ มาประกอบเข้าด้วยกัน ก่อนจะนำบางส่วนที่มีการแกะสลักลวดลาย มาเข้าสู่แผนกตกแต่ง โดยช่างฝีมือมากประสบการณ์ในการแกะสลัก

01

เมื่อแกะสลักเสร็จแล้ว ก็ถึงขั้นตอนสำคัญนั่นคือการทำสี ที่จะแบ่งเป็นการลงรัก (เสมือนคำว่าลงรักปิดทอง) โดยเป็นวิธีมาตั้งแต่โบราณ ด้วยการเลือกใช้น้ำยางธรรมชาติจากต้นรัก ตั้งแต่การขัดให้เรียน ไล่เสี้ยนไม้ออกไป แล้วค่อยลงสีรัก จากนั้นจึงเข้าห้องอบให้แห้ง ขั้นตอนของการลงสีรักค่อนข้างใช้ความประณีตและความชำนาญเป็นพิเศษ เฟอร์นิเจอร์ตัวหนึ่งอาจใช้เวลากับการลงรักเป็นเวลาถึง 5 วันเลยทีเดียว ข้อดีก็คือการได้ความเนียน และความบางของสีที่ลงไป เสมือนเป็นเนื้อเดียวกันกับไม้ จะไม่หนาเท่ากับการพ่นสี

จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการตกแต่ง เพนส์สี และปิดทองคำเปลว การเพนส์สีก็ต้องใช้ความอดทนและความมชำนาญ เช่นเดียวกับการปิดทองคำเปลว ทั้งหมดนี้ใช้เวลาพอสมควรถึงจะเสร็จสมบูรณ์ ช่างต้องมีความเข้าใจเรื่องความเก่าของเฟอร์นิเจอร์ การเลือกจุดที่ลงสี เพื่อให้ดูเก่า ทั้งมุมขอบโต๊ะ ขาโต๊ะ เป็นต้น ก่อนจะส่งเข้าสู่แผนกตรวจสอบคุณภาพ และนำเข้าโกดังจัดเก็บเพื่อรอส่งให้ลูกค้าต่อไป

1/4

ปัจจุบัน The Classic Chairs ประกอบด้วย 3 แบรนด์ได้แก่ Classic Chairs ที่เน้นเฟอร์นิเจอร์ยุโรป คลาสสิกในปีช่วงปี 1740-1840 ที่มีความหรูหรา งดงามราวกับศิลปะ เน้นวัสดุธรรมชาติในการตกแต่ง Pierre Philippe (ปิแอร์ ฟินลิปส์) เฟอ์นิเจอร์ยุโรป คันทรี ในช่วงศตวรรษที่ 18-19 สะท้อนความปราณีต หรูหรา และแฝงไปด้วยความอบอุ่น และน่าค้นหา สุดท้าย Monaco Living (โมนาโค ลีฟวิ่ง) เฟอร์นิเจอร์สไตล์ Art Deco ในช่วงปี 1930 เน้นสีสันที่มีความเท่ ด้วยวัสดุที่หายาก และแปลกตา แต่มีความอ่อนช้อยจากเส้นสาย และรูปทรงเรขาคณิต ในโทนสีขาวดำ

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวตำนานอันเล่าขานที่จะมีต่อไปอย่างไม่รู้จบ ราวกับว่านิยายเรื่องนี้จะถูกหยิบมาเล่าสู่คนรุ่นหลังสืบไป

14

 

 

 

Leave A Comment