PTT URBAN FOREST

A

 ป่าในกรุง
ปลูกป่าฟอกปอดให้คนเมือง

Text: นวภัทร ดัสดุลย์ 
Photo: LAB – Landscape Architects of Bangkok,
Veerapat Happysoft Sooknim, นวภัทร ดัสดุลย์
Landscape Architects: LAB – Landscape Architects of Bangkok
Architect: Spacetime . กา-ละ-เท-ศะ 

นับวันป่ากับเมืองยิ่งทำตัวเหินห่างคล้ายคนไม่ถูกจริตกัน ปริมาณป่าคอนกรีตฝีมือมนุษย์ผุดขึ้นใหม่อย่างไม่มีทีท่าลดละ สวนทางกับป่าธรรมชาติสร้างที่ค่อยๆ ลดลงทีละน้อยละนิด ไม่ใช่เรื่องผิดเสียทีเดียวที่กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองหนาแน่นด้วยอาคารสูงและชุมชนน้อยใหญ่ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่อาศัยกระจายอยู่เต็มพื้นที่เกือบ 6 ล้านคน ในเมื่อห้ามเมืองเติบโตไม่ได้ คงดีกว่าไม่น้อยใช่ไหมถ้าหากว่าเราหันมาร่วมมือกันสร้างพื้นที่สีเขียวให้เติบโตไปพร้อมกัน เพื่อในอนาคตพื้นที่กว่า 1,569 ตารางกิโลเมตร จะมีจำนวนต้นไม้ฝีมือมนุษย์เพิ่มขึ้นไม่แพ้จำนวนหมู่บ้านจัดสรรหรือตึกระฟ้าอย่างวันนี้

0เพื่อให้ป่ากับคนเมืองใกล้ชิดกันมากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมและรักษาสภาพแวดล้อมของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สถาบันปลูกป่า ปตท. (PTT Reforestation Institute) จึงริเริ่มปฏิบัติการพลิกฟื้นผืนป่าให้กับคนเมือง หรือ ‘PTT Green in the City’ พัฒนาพื้นที่สีเขียวในที่ดินที่เคยรกร้างของ ปตท.จำนวน 12 ไร่ 1 งาน 2 ตารางวา ขึ้นบนถนนสุขาภิบาล 2 เขตประเวศ เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้การปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืนตามวิถี ปตท.สานต่อองค์ความรู้จากการปลูกป่า 1 ล้านไร่ โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ซึ่งมีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า ‘โครงการป่าในกรุง’ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 

การสร้างป่านิเวศโครงการป่าในกรุงครั้งนี้ใช้แนวทางการศึกษาและทฤษฏีการฟื้นฟูป่าธรรมชาติ โดยการปล่อยให้ป่าจัดการตัวเองของ ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ ที่อาศัยการปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นดั้งเดิมกว่า 250 ชนิดผสมผสานกันทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้พื้นล่าง

ในส่วนการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมทั้งหมดในพื้นที่โครงการป่าในกรุง เป็นความร่วมมือกันระหว่าง บริษัท ภูมิสถาปนิกกรุงเทพ จำกัด (LAB – Landscape Architects of Bangkok) ในฐานะผู้ออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม, ดร.สิรินทร์ แก้วละเอียด เป็นที่ปรึกษาการปลูกป่านิเวศ, ดร.อังสนา บุญโยภาส ที่ปรึกษางานออกแบบโครงการ และ บริษัทสถาปนิกสเปซไทม์ (Spacetime กา.ละ.เท.ศะ) เป็นผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรม ซึ่งได้ คุณปัจจ์ บุญกาญจน์วนิชา ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุดินเพื่องานก่อสร้างจาก บริษัท ลาแตร์ จำกัด {la terre S.A. ( Société Anonyme )} มาสนับสนุนอีกแรง โดยออกแบบสัดส่วนให้พื้นที่ 75% เป็นพื้นที่ป่า 10% เป็นพื้นที่น้ำ และ 15% เป็นพื้นที่ใช้งาน

การสร้างป่านิเวศโครงการป่าในกรุงครั้งนี้ใช้แนวทางการศึกษาและทฤษฏีการฟื้นฟูป่าธรรมชาติ โดยการปล่อยให้ป่าจัดการตัวเองของ ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ ที่อาศัยการปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นดั้งเดิมกว่า 250 ชนิดผสมผสานกันทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้พื้นล่าง เช่น กรวยป่า กระเจียว ขันทองพยาบาท พระเจ้าห้าพระองค์ แคแสด จันทน์ชะมด ชุมแสง ชำมะเรียง เต็งรัง ตะเคียนทอง มะกอกน้ำ มะเม่า สะตือ นุ่น สมพง ยางนา เหียง ฉนวน จัน-อิน สมอไทย ทองพันช่าง เป็นต้น โดยปลูกด้วยรูปแบบการสุ่มเลียนธรรมชาติในระยะห่าง 3-4 ต้นต่อ 1 ตารางเมตร (ประมาณ 6,400 ต้นต่อไร่) บนเนินดินที่ถมขึ้นใหม่ให้เป็นพื้นที่ป่าจำนวน 9 ไร่ เริ่มจากการเตรียมดินปลูกเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวดิน ช่วยในการระบายน้ำ และช่วยในการระบายอากาศของกล้าไม้ในระยะเริ่มต้น รวมถึงการผสมดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เพื่อให้มีสารอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้ในช่วง 3 ปีแรก โดยเป็นดินผสมที่มีคุณภาพดี มีส่วนผสมของดินร่วนและวัสดุย่อยสลายได้ ได้แก่ ดิน แกลบดิบ ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ ในสัดส่วน 3:1:1:1 ก่อนดำเนินการปลูกมีการนำกล้าไม้จุ่มน้ำก่อนเพื่อให้น้ำในระบบรากของกล้าไม้ เมื่อปลูกเสร็จคลุมด้วยฟางข้าวเพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการระบบน้ำสำหรับใช้ในพื้นที่โครงการอีกจำนวน 1.2 ไร่ เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนและสร้างระบบนิเวศอย่างครบวงจรของสิ่งมีชีวิต

07701ในสัดส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ใช้งานจำนวน 1.8 ไร่ สร้างสถาปัตยกรรมที่มีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งแวดล้อมโดยรวมทั้งหมด โดยอาคารนิทรรศการเกิดจากการนำดินจาก 5 แหล่งที่มา ประกอบด้วย ดินสีแดงเข้ม และดินสีส้มจัด จากแหล่งดิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ดินสีส้มอมเหลือง จากแหล่งดิน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ดินสีครีม จากแหล่งดิน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และดินสีขาว จากแหล่งดิน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ผสมกับปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ แล้วบดอัดทีละชั้นจนได้ผนังอาคารดินบดอัด (Rammed Earth) 5 เฉดสีที่ทั้งสวยงามและมีความแข็งแรงทนทาน สามารถดูแลรักษาได้ง่าย ทั้งยังเป็นต้นแบบนวัตกรรมอาคารเขียวอีกด้วย เพราะนอกจากจะมีความเป็นธรรมชาติสูง ยังมีประโยชน์ในเรื่องการต้านทานความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้ดี ช่วยลดภาระการพึ่งพาความเย็นจากเครื่องปรับอากาศโดยตรง

03 04
ภายในอาคารมีห้องจัดแสดงนิทรรศการ ห้องชมภาพยนตร์ สำนักงาน และตลอดแนวผนังดินบดอัดโค้งจัดแสดงให้ความรู้เมล็ดพันธุ์ต้นกำเนิดแห่งป่าในกรุงในเรซิ่นใส อีกทั้งตัวอาคารนั้นถูกออกแบบให้มีความโค้งเว้าสอดผสานเชื่อมต่อไปกับทางเดินชมเรือนยอด (Skywalk) ซึ่งมีระดับความสูงจากพื้นดิน 10.2 เมตร ออกแบบเสาเป็นเหล็กกลมเพื่อให้ดูกลมกลืนไปกับต้นไม้ยืนต้นในป่า พื้นทางเดินใช้เป็นไม้เทียมสีธรรมชาติ และตัดขอบแบบไม่เป็นแนว ออกแบบทางเดินให้ดูเบาและบางเพื่อให้พรางตัวไปกับพื้นที่ได้เป็นอย่างดี มีระยะทางยาว 200 เมตร มุ่งไปสู่หอชมป่า (Observation Tower) ความสูง 23 เมตร สำหรับชมป่าไม้ในระดับชั้นเรือนยอดของต้นไม้

AAA02ในกระบวนการก่อสร้างยังมีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์และวัสดุที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และเป็นเทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) พร้อมควบคุมสภาพแวดล้อมภายนอกด้วยการส่งเสริมให้ใช้จักรยานและรถยนต์ประหยัดพลังงานในพื้นที่ โดยจัดให้มีพื้นที่จอดจักรยานและจุดจอดสำหรับรถยนต์ประเภท Car pool นอกจากนี้มีการติดตั้ง PV Cell เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าทดแทนให้กับอาคารขนาด 14 กิโลวัตต์สูงสุด (kWp) หรือ 16,800 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี (kWh/yr) ปัจจุบันโครงการป่าในกรุงได้เข้าร่วมเกณฑ์การประเมินอาคารประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ของหน่วยงาน USGBC (US Green Building Council) ซึ่งระดับคะแนนที่คาดว่าจะได้รับอยู่ในระดับ Platinum

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพ สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของป่า ยังเหตุว่าทำไมกลุ่ม ปตท. จึงต้องสร้างป่าในกรุงขึ้น แน่นอนว่าในอนาคตผืนป่าแห่งนี้จะต้องเติบโตและอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้ชมธรรมชาติของคนเมือง แม้ไม่อาจเทียบขนาดได้กับเซ็นทรัลพาร์ค กลางมหานครนิวยอร์ก ทว่านี่คืออีกหนึ่งประกายฝันที่ถูกจุดขึ้นเพื่อเป็นแนวป้องกันมลภาวะและฟอกปอดคนเมืองแห่งใหม่ ปัจจุบันเปิดให้บุคคลทั่วไปลงทะเบียนเข้าชมล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ www.pttreforestation.com

Bสวนบนหลังคา หรือ หลังคาเขียว เปรียบเสมือนการติดตั้งฉนวนกันความร้อนเหนือฝ้าและใต้หลังคา รวมถึงมีความกลมกลืนไปกับบริบทเมื่อมองลงมาจากมุมสูง

Cบริเวณแหล่งน้ำใช้การปลูกพืชน้ำ และหญ้าแฝกในการรักษาหน้าดิน เพื่อป้องการทรุดตัวพังทลายของพื้นที่รอยต่อระหว่างเนินดินและน้ำ และยังได้สร้างน้ำตกช่วยเรื่องระบบการหมุนเวียนน้ำ

D เรือนยอดของป่าในกรุงจากมุมมองบนหอชมป่า

E Gทางเดินชมเรือนยอดมุ่งไปสู่หอชมป่า ซึ่งในพื้นที่มีการจัดสรรให้มีพันธุ์ไม้ตามลักษณะป่าชนิดต่างๆ เช่น ป่าดิบที่ลุ่ม ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าน้ำกร่อย ป่าชายเลน ป่ารอบน้ำตกและเขาหินปูน ซึ่งความหลากหลายของพันธุ์ไม้ที่ใช้ปลูกมีทั้งพันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้พื้นเดิมของกรุงเทพมหานคร และพันธุ์ไม้ป่าตามประเภทป่าชนิดต่างๆ มีจำนวนกว่า 250 ชนิด

ขอบคุณข้อมูลจาก www.pttreforestation.com

 

Leave A Comment