NEW DNA’ DEESAWAT

Remix Network and Business Model คาแรคเตอร์ใหม่ สู่อินโนเวชั่น ดีสวัสดิ์ 4.0

ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า 40 ปี แบรนด์ DEESAWAT เฟอร์นิเจอร์สัญชาติไทย โดย ไมค์ – จิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ R&D & Managing Director ก็มาแตกหน่อ ต่อยอดธุรกิจกับงาน Bangkok Design Week 2018  เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561 เปิดโชว์รูม สุขุมวิท 24 เป็นเวที “พันธมิตร 4 ชาติ” จัดกิจกรรมแสดงผลงานออกแบบ ให้ผู้ที่สนใจ และนักศึกษาได้ชื่นชม และติดตามเทรนด์ออกแบบ

Concept สร้างแรงบันดาลใจ   

เพราะหัวใจของแบรนด์คือ งานดีไซน์ ในคอนเซ็ปต์ ที่จิรชัย วัย 43 ปลุกปั้นผลงานแต่ละชิ้น ให้มีความเป็นตัวของตัวเอง พรั่งพร้อม โดดเด่น เป็นความท้าทาย ซึ่ง DEESAWAT พยายามอย่างยิ่งในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา

จากอดีตโรงงานไม้เก่าแก่ คุณภาพงานไม้ เน้นชิ้นงานไม้สัก วันนี้ DEESAWAT มีธุรกิจ 2 กลุ่ม คือกลุ่มร้านค้าปลีก และกลุ่มโครงการพิเศษต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  โชว์รูม 3 แห่ง เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายในญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอิตาลี ธุรกิจเติบโต ไม่ใช่แค่ร้านขายเฟอร์นิเจอรน์อีกแล้ว แต่เป็นผู้ผลิตแบรนด์ ที่สร้างไลฟ์สไตล์ให้เฟอร์นิเจอร์ เพราะหวังจะเสริมความสุขแก่ผู้ใช้งาน ในทุกอิริยาบถ

จิรชัย เล่าถึงชิ้นงานว่า เขาต้องสร้างคอนเซ็ปต์ ปั้นธีมในการออกแบบ จากแนวคิดเป็นนามธรรม ต้องแปลงให้เป็นรูปธรรม เพื่อลูกค้าจับต้องได้ เช่นชิ้นงาน Wellness Sharing การคิดแบบผลิตภัณฑ์ออกมา ไม่ใช่แค่เฟอร์นิเจอร์สวยตามกระแส ยังต้องแปลกใหม่ และแตกต่างอีกด้วย เป็นงานออกแบบในแนว Emotional Design ให้ทั้งฟังก์ชัน การใช้งานและดีไซน์ จึงเป็นงานคุณภาพที่ลงตัว

“ผมไม่ใช่แค่มุ่งขายสินค้าอย่างเดียว แต่อยากแสดงให้เห็นว่า DEESAWAT มีดีมากกว่านั้น ไม่แค่เฟอร์นิเจอร์สวย แต่ยังตอบสนองความรู้สึกทางใจได้”

ทุกวันนี้สินค้าหลักของ DEESAWAT เป็นเฟอร์นิเจอร์สนาม งานไม้สัก เน้นการออกแบบอย่างดี มากกว่าเลือกผลิตงานแบบ OEM (Original Equipment Manufacturing) ตามความต้องการของลูกค้าเหมือนแต่ก่อนอย่างเดียว เพราะถ้าคิดจะก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ระดับสากล จำเป็นต้องสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมไปสู่แบรนด์ของตัวเองให้ได้อย่างแข็งแรง

Business Platform จุดประกายความคิด

ก้าวที่จะเติบใหญ่ต่อไป จิรชัย มีแนวคิดและเส้นทางธุรกิจว่า เขาต้องมี “พันธมิตร” ในการทำธุรกิจ ที่พร้อมจะเติบโตไปด้วยกัน ดังนั้น บนเวทีระดับสากล DEESAWAT จับมือรวมกลุ่มกับแบรนด์เล็กๆ หลายๆ แบรนด์ให้กลายเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ ซึ่งแนวคิดการทำธุรกิจแบบที่จิรชัย ลงมือลองทำอยู่นี้ เจ้าตัวบอกว่า “นี่ถือเป็นการทดลองตลาด ไม่รู้ว่าถูกต้องหรือไม่”

การดึงเหล่าบรรดาเพื่อนๆ ทั้งสถาปนิก นักออกแบบ ศิลปิน ช่างภาพจากไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาร่วมงานด้วยกัน อาทิ Mr.Yin Ming Kok จาก Super Donut Studio นักออกแบบจากสิงคโปร์ , Mr. Daisuke Ikeda จาก Norg Design นักออกแบบญี่ปุ่น, Mr.Kiyochi Iuchi จากบริษัท Soramado Architect ญี่ปุ่น, Mr.Kitagawara Junya Curator Sozai Material จากญี่ปุ่น, คุณปิยทัต เหมทัต นักถ่ายภาพมีชื่อ และ Mr.Joshap Gonzalez จาก Rastrullo ประเทศฟิลิปปินส์ โดยนำผลงานที่ผสมผสานความถนัดของแต่ละคนมาจัดแสดง ในกิจกรรม “ Remix DEESAWAT ”

เป็นอีกหนึ่งจังหวะและโอกาส ของ DEESAWAT ได้ทำการจับคู่ธุรกิจ โดยจับมา Matching กัน สร้างบรรยากาศให้มีการรู้จัก และเริ่มต้นพูดคุยธุรกิจกันอย่างเป็นกันเอง รวมถึงการสร้างกลุ่มลูกค้า ให้เป็นเครือข่ายธุรกิจใหม่ จากการสร้างสมความสัมพันธ์ฉันเพื่อนนำเอามาใช้ บนแพลตฟอร์มใหม่ให้เกิดขึ้นนี้ มาพร้อมกับการซื้อขายรูปแบบ

Remix Network 

“ผมผลักดันแนวคิดและงานนี้ ประโยชน์ที่ได้ทั้งการสร้างเน็ตเวิร์คโยงเข้าด้วยกัน การรู้จักกันไว้เพื่อร่วมสร้างผลงานที่มีอัตลักษณ์ เราทำงานเป็นเหมือนเพื่อนกัน แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในทางความคิด การทำธุรกิจทุกวันนี้ ดีสวัสดิ์ไม่แค่หนึ่ง avenue แต่เรามองงานของเพื่อนต่างชาติเอามาพัฒนา ไม่ได้ทำเพียงระดับชาติแล้ว เป็นระดับโลก globalize ซึ่งไร้พรมแดนทั้งความคิด และการค้าขาย งานนี้ เรายังเปิดโอกาสเวทีสร้างสรรค์ให้นักศึกษาได้ร่วมกระบวนการคิดกับผู้ที่อยู่ในวิชาชีพออกแบบด้วย กิจกรรมครั้งนี้ผมจัดให้ทุกคนมีส่วนร่วม เชื่อมคอนเนกชัน เพื่อดูผลตอบรับ ผ่านการสะท้อน Interaction Marketing ที่เปลี่ยนไป ทุกวันนี้ลูกค้าซื้อของได้ทั่วโลก”

ดังนั้น นโยบาย Thailand 4.0 นับจากนี้การแข่งขันด้านราคา ไม่ใช่สิ่งแรกในการตัดสินใจ แต่ใช้ความร่วมมือกันอย่างมีมูลค่า เป็นหลักการมาร่วมออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และนั่นหมายถึง Design Week ต้องไม่มองการขายเป็นหลัก เพราะ DNA ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว การทำตามลูกค้าพัฒนาทางแบรนด์ของตัวเอง นักออกแบบดีไซน์งานเป็นของตัวเองแล้วขาย ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราต้องทำตัวเองให้อยู่ในเทรนด์ นำเทรนด์ โดยใช้ทิศทาง Eco เพราะผลิตภัณฑ์จะดี ต้องดีตั้งแต่พื้นฐาน โรงงานผลิต การออกแบบ จนได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ Eco Green Business เป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานของการทำธุรกิจทั่วโลก

แนวคิดเดิม Customer is god ต้องบอกว่า ยุคนี้เป็น Customer is friends เหมือนเพื่อนช่วยเพื่อนทั้งคิด ต่อยอด บอกต่อกันไป ช่วยกันขายนั่นเอง

Innovation Showcase

การออกแบบเหนือเทรนด์ สไตล์ Innovation Deesawat 4.0 จิรชัยอธิบายว่า บางอย่างเราทำเองไม่ได้ก็ส่งต่อให้คนอื่นทำได้ เพื่อหาทางตอบโจทย์ที่ผู้บริโภคไม่เคยมีมาก่อน เช่น เฟอร์นิเจอร์สวยๆที่คนชอบ บอกกันว่าคลาสสิก ความสวยมุมมองอาจเหมือนกัน แต่ประโยชน์ต้องการใช้งานต่างกัน แล้วตกทอดให้ลูกหลานอีกรุ่น …เขาบอกว่า มันไม่ใช่ความคลาสสิกที่เป็นแบบของตัวเองอยากเก็บไว้ แต่ถ้าสามารถสร้างนวัตกรรม นำเอาฟังก์ชันการใช้งานของตัวเองที่วางแผนและคิดส่งต่อให้ลูกหลาน เจนเนอเรชั่นต่อไป หมายถึงสิ่งที่ออกแบบต้องเป็น Lifetime ใช้ได้ยาวนาน มีความคลาสสิกของตัวเองที่อยากเก็บ อยากสะสม อยากส่งต่อทำไมเราไม่คิดทำกันเช่นนั้น

“ทำไมเราอยากได้ของมีเรื่องเล่า (Story) ของคนอื่น ทำไมไม่ทำไม่เล่า Story ของเราเอง เปรียบเปรยว่า เปลี่ยนตัวเองให้เป็น โรเล็กซ์ ออกแบบทำ Antique ที่คลาสสิกเป็นของตัวเองที่อยากเก็บ อยากสะสม อยากส่งต่อ เหมือนเราซื้อเฟอร์นิเจอร์สักตัวส่งให้เจเนอเรชั่นอื่นใช้ได้ สิ่งที่ออกแบบเป็น Lifetime ใช้ได้ ยาวนาน นี่ต่างหากที่ผมอยากบอก อยากทำให้ลูกค้า ไม่เพียงฟังก์ชันการใช้งานที่สะดวกสบาย ในอิริยาบถต่างๆ เท่านั้น เฟอร์นิเจอร์ DEESAWAT ยังให้ความรู้สึกแตกต่าง ด้วยความหมายดีๆ ที่ซุกซ่อนอยู่ในทุกชิ้นงาน”

“ผมสนุกกับงานมาก สิ่งที่ทำไม่ได้คาดหวังอะไรมาก ทำบุญไม่ได้หวังชาติหน้า แต่สิ่งตอบกลับที่ได้รับเกินคาด เป็นก้าวแรกของการทดสอบ สิ่งที่เกิดขึ้นแบรนด์ DEESAWAT ไปอยู่ใน 4 ประเทศด้วยการบอกต่อ โมเดลธุรกิจนี้ เราเป็นทั้งผู้ให้ และผู้รับ ส่วนตัวผมว่าทำอะไรก็ได้ ให้ตัวเองมีความสุข ผมจึงสร้าง Happy Space เป็นบรรยากาศที่ไม่เหมือนเดิมในการทำธุรกิจนั่นเอง”

ก้าวเดินของ DEESAWAT กับทิศทางของ จิรชัย เมื่อเขาชอบทดลองทำอะไรใหม่ๆ  ซึ่งไม่รู้ว่าถูกผิดหรือไม่ อย่างไร? แต่สิ่งที่ได้ทำ เป็นความสุขที่เขาได้รับ นั่นน่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจน .

Leave A Comment