MERGE LAYERS

B

บ้านขนมจันทร์
ผสานการทำงาน และพักอาศัยเข้าด้วยกันอย่างสมดุล

Text: นวภัทร ดัสดุลย์
Photo: Chaovarith Poonphol (https://chaovarith.wordpress.com/)
Architects: Anonym Studio – anonym@anonymstudio.com

จุดเริ่มต้นของโครงการ ‘บ้านขนมจันทร์’ เกิดจากเจ้าของบ้านซึ่งประกอบกิจการอู่รถแท็กซี่ ต้องการจะปลูกบ้านเพื่อเป็นที่พักอาศัย และใช้เป็นสถานที่ทำขนมให้กับลูกสาว ผู้ซึ่งทำขนมส่งหนึ่งในร้านชาชื่อดังของประเทศไทย ทว่าบริบทที่แวดล้อมไปด้วยบ้านและตึกแถวมีอายุ รวมไปถึงยังเป็นที่จอดรถแท็กซี่ ซึ่งมีการขับรถเข้าและออกตลอดเวลา จึงทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างอึดอัด และไม่ค่อยมีความเป็นส่วนตัวเท่าไรนัก 

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดในย่อหน้าแรกกลายเป็นโจทย์สำคัญที่สถาปนิกจาก Anonym Studio จะต้องคิดหาวิธีออกแบบและสร้างบ้านอย่างไร เพื่อกำหนดจุดสมดุลที่สามารถใช้งานทั้ง 2 ฟังก์ชันดังกล่าวในพื้นที่ประมาณ 100 ตารางวาได้ลงตัวที่สุด อีกทั้งยังต้องมีการแก้ปัญหาในเรื่องของความเป็นส่วนตัว (Privacy) การจัดวางตัวอาคาร (Orientation) และคำนึงถึงการระบายอากาศ (Ventilation) ที่ดีอีกด้วย

การแบ่งฟังก์ชันการใช้งานที่ต่างกันออกเป็นชั้น (Layer) จึงกลายเป็นไอเดียหลักที่สถาปนิกเลือกนำมาใส่ในบ้านหลังนี้ โดยแบ่งให้ชั้นที่ 1 และ 2 เป็นสถานที่ทำขนม หรือ Public Area ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถเดินเข้าออกและใช้งานได้ในส่วนนี้ โดยมีบันไดหลักเป็น Vertical Circulation หลักที่ซึ่งให้ความสำคัญกับแสงธรรมชาติ เชื่อมโยงสเปซของบ้านเข้าด้วยกัน สำหรับชั้นที่ 3 เป็นส่วนที่พักอาศัยโดยให้พี่น้อง 2 ครอบครัวอยู่ชั้นเดียวกัน เพียงแต่แบ่งแยกห้องออกเป็น 2 ห้องนอนหลัก เพื่อให้เกิดความเป็นสัดเป็นส่วนของ 2 ครอบครัว 

C
อย่างที่กล่าวไว้ในย่อหน้าข้างต้น นอกจากการแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 3 ชั้น สถาปนิกยังคำนึงเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อาคาร และการจัดวางตัวอาคารเป็นสำคัญไม่แพ้สิ่งใด ภายนอกออกแบบให้โดยรอบบ้านมีการแบ่งผนังทึบออกเป็นทั้ง 2 ด้าน คือ ฝั่งทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยสร้างรูปทรงให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายผ้าใบผืนใหญ่สีขาวโพลน คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวแต่ยังคงเปิดคอร์ต เพื่อให้เกิดพื้นที่ว่างบริเวณช่วงตรงกลางของอาคาร ซึ่งแสงธรรมชาติจะสามารถเข้าถึงพื้นที่ของการทำขนม (Public area) ได้อย่างเต็มที สังเกตได้ว่าบ้านหลังนี้จึงมีลักษณะเหมือนถูกแยกเป็นสองส่วน แต่แท้ที่จริงแล้วพื้นที่ทั้งหมดยังเชื่อมต่อกันโดยอิสระ

นอกเหนือจากให้ความสำคัญกับเรื่องแสงธรรมชาติ สถาปนิกยังคงไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับแสงเงาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น แสงเงาที่ตกกระทบ (Shade) ซึ่งเกิดจากต้นไม้บริเวณข้างเคียง สังเกตได้จากแสงที่ตกกระทบผนังทึบ (Solid wall) สีขาว เงาจากต้นไม้ทำให้รูปด้านมีมิติที่น่าสนใจมากขึ้น แม้กระทั่งแสงเงาที่ตกกระทบผนังภายในบริเวณโถงบันไดหลัก แสงที่ลอดผ่านหน้าต่างบานเกร็ดทำให้เกิดแพทเทิร์นของแสงเงาในยามบ่าย โดยหน้าต่างบานเกร็ดยังคงทำหน้าที่รับลมและสร้างสภาวะอากาศถ่ายเทที่ดีภายในบ้านอีกด้วย

K
ในส่วนของที่พักอาศัย ในระหว่างขั้นตอนการออกแบบนั้น สถาปนิกใช้มุมมองท่ามกลางบริบทที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ โดยหยิบยืมต้นไม้ใหญ่ของเพื่อนบ้านที่อยู่ด้านหลังบ้านทางทิศใต้ มาใช้เป็นมุมมองออกจากภายใน และในส่วนบริเวณด้านหน้าของอาคาร สถาปนิกตั้งใจที่จะออกแบบให้มีความรู้สึกเปิดโล่ง มีระเบียงหน้าบ้านแบบ Double Volume เพื่อให้เกิดเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ (Multifunction area) ซึ่งรวมพื้นที่ระเบียงและพื้นที่ภายในห้องเป็นสเปซเดียวกัน เพื่อที่จะสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างผู้พักอาศัยและพนักงาน ซึ่งเป็นแนวความคิดระหว่างสถาปนิกกับเจ้าของบ้าน ที่ตั้งใจจะให้หน้าบ้านเป็นมิตรกับคนในพื้นที่โดยรอบ

บ้านขนมจันทร์ มีอีกหนึ่งตัวดำเนินเรื่องหลักที่จะขาดไปไม่ได้ คือ โครงสร้างเหล็ก องค์ประกอบสำคัญของบ้านซึ่งถูกผสมผสานกับผนังเรียบสีขาว โดยจะเห็นได้จาก Facade อาคารของทั้งโครงการที่สถาปนิกตั้งใจให้มีลูกเล่นที่น่าสนใจ เพื่อให้เกิดความแตกต่างในบริบท หรืออีกนัยหนึ่งคือเพื่อให้มีอาคารทันสมัยเกิดขึ้นในละแวกชุมชนนั่นเอง ซึ่งที่มาของชื่อเรียกอันไพเราะของบ้านหลังนี้ก็สอดคล้องไปกับฟังก์ชันของที่พักอาศัย (บ้าน) ที่ทำงาน (ขนม) รวมถึงที่ตั้งตามชื่อถนน (จันทร์) แบบพอเหมาะพอดีทีเดียว

D2โดยรวมแล้วแม้พื้นที่ใช้สอยทั้งหมดประมาณ 600 ตารางเมตร จะถูกแบ่งออกเป็น 3 เลเยอร์หลักๆ ตามฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกันไป แต่ทั้งหมดหลอมรวมกันเป็นบ้านหนึ่งหลัง ที่ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถึงความสำคัญของการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งานเท่านั้น แต่ยังสะท้อนไปถึงวิถีชีวิตในขนบธรรมเนียมของการอยู่รวมกันของครอบครัวที่ยังคงแน่นแฟ้นเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือทันสมัย และสะดวกสบาย แทรกตัวเข้ามาอาศัยอยู่ในบริบทเดียวกัน

โดยรอบบ้านมีการแบ่งผนังทึบออกเป็นทั้ง 2 ด้าน คือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก สร้างรูปทรงให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมโดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัว แต่ยังคงเปิดคอร์ตเพื่อให้เกิดพื้นที่ว่างบริเวณช่วงตรงกลางของอาคาร ซึ่งแสงธรรมชาติสามารถเข้าถึงได้อย่างเต็มที่

 A
แสงที่ส่องผ่านต้นไม้มาตกกระทบบนผนังสีขาว เกิดเป็นเงาที่ทำให้รูปด้านมีมิติน่าสนใจมากขึ้น

 E
ผนังทึบทรงสี่เหลี่ยมทำหน้าที่เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับบ้าน ขณะที่คอร์ตตรงกลางของอาคารทำหน้าที่รับแสงธรรมชาติให้เข้าถึงภายในได้อย่างเต็มที

 D
สถาปนิกเลือกใช้หน้าต่างบานเกร็ดมารับหน้าที่รับลมผ่านเข้าออก เพื่อช่วยเรื่องการระบายอากาศให้ถ่ายเทได้ดีตลอดวัน

F2 G
ผนังสีขาวกับโครงสร้างเหล็กถูกเบรกด้วยความอบอุ่นจากไม้พื้นบริเวณโถงบันไดหลัก

I2ในยามบ่ายบ้านจะมีแสงที่ลอดผ่านหน้าต่างบานเกร็ดเข้ามา ทำให้เกิดแพทเทิร์นของแสงเงาบนผนังดูน่าสนใจ

H Jโทนสีขาวกับแสงธรรมชาตินำพาให้บ้านสว่างโดยไม่ต้องพึ่งกระแสไฟฟ้า

L
สถาปนิกตั้งใจออกแบบ Facade อาคารให้มีลูกเล่นน่าสนใจ เพื่อให้เกิดความแตกต่างในบริบท

 

 

Leave A Comment