EXPERIMENTING WITH THE DIGITAL SENSE

C

ห้องทดลองประสบการณ์ของ
พันธวิศ ลวเรืองโชค

Text: กรกฏ หลอดคำ
Photo: ฉัตรชัย เจริญพุฒ, Apostophy’s team

เป็นเรื่องยากที่จะแยกเทคโนโลยีออกจากชีวิตมนุษย์ในศตวรรษแห่งดิจิตอล เพราะทุกย่างก้าว เราใช้สิ่งประดิษฐ์แห่งโลกยุคใหม่เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตอยู่แทบทุก ขณะ ในฐานะนักออกแบบ เครื่องมือทั้งหลายถูกเปลี่ยนผ่านจากดินสอ กระดานดำ โต๊ะเขียนแบบ สู่เครื่องมือเพียงหนึ่งเดียวแต่ครอบคลุมทุกทักษะที่นักออกแบบต้องการ คอมพิวเตอร์ช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น กะทัดรัด และรวดเร็ว เช่นเดียวกับประตูของงานออกแบบที่ถูกเปิดออกตามเครื่องมือแห่งสมัยปัจจุบัน ณ วันนี้เราจึงไม่ได้เห็นเพียงบ้าน อาคาร ป้ายบิลบอร์ด ร้านค้า หรืองานออกแบบอื่นๆ แยกขาดจากกันอีกต่อไป แต่โลกได้ผสมกลมกลืน สหสาขาของงานดีไซน์ ด้วยพื้นที่ในอีกมิติของโลกยุคใหม่ พื้นที่ของโลกยุคดิจิตอล

ภาพของสำนักงานสีสันสดใสทั้ง 3 สี แดง น้ำเงิน และเหลือง หลายคนคงเคยผ่านตามาบ้างแล้วบนหน้าโซเชียลเน็ตเวิร์ก Daybeds ฉบับ ‘Digital Renaissance’ ฉบับนี้ จึงได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยียนสตูดิโอออกแบบที่เปี่ยมไปด้วยพลังการทำงานของ คุณเบียร์-พันธวิศ ลวเรืองโชค ศิษย์เก่าจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักออกแบบประสบการณ์ บนพื้นฐานของความเป็นอีเว้นท์เอ็กซิบิชั่นดีไซเนอร์ ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนานย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยเรียนจากการทำงาน ออกแบบอีเว้นท์ เอ็กซิบิชั่น คอนเสิร์ต สื่อปฏิสัมพันธ์ และงานสร้างสรรค์อื่นๆ มานานกว่า 10 ปี ให้เป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปในพื้นที่ของงานออกแบบแห่งโลกยุคใหม่ นิยามความหมายของงานดีไซน์ เพื่อสะท้อนภาพของโลกให้ชัดเจนในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีปริมาณมากกว่าสาระ สำคัญ ผ่านผลงานหลากหลายภายใต้เครือของบริษัท Apostophy’s Group ที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของงานออกแบบแห่งโลกใหม่ในศตวรรษที่ 21

นักออกแบบ กับเครื่องมือ และผลงานของเขา สัมพันธ์กันอย่างไรในโลกยุคใหม่ รวมถึงเมื่องานศิลปะ เดินทางมาพบกับเทคโนโลยี จะก่อให้เกิดสิ่งที่น่าสนใจได้อย่างไร เป็นคำถามที่เราต้องการค้นหาคำตอบให้กับคนยุคใหม่ เพื่อจุดประกาย และหมุดหมายทิศทางใหม่ของงานดีไซน์ ที่เรากำลังเคลื่อนเข้าสู่อนาคตอันใกล้

Daybeds: ปฏิเสธไม่ได้ว่างานออกแบบของ Apostrophy’s นั้นมีความหลากหลายอย่างมาก ช่วยอธิบายสาขาของงานออกแบบของคุณให้เราเข้าใจได้ถูกต้อง

Pantavit Lawaroungchok: ตอนนี้เราทำอยู่มี 3 บริษัท เป็นเครือ Apostrophy’s Group ในนี้ก็จะมี Apostrophy’s อันที่หนึ่ง มี Sense.S อันที่สอง และ Synonym อันที่สาม Apostrophy’s เนี่ย ก่อนหน้านี้เราทำอีเว้นท์เอ็กซิบิชั่นดีไซน์ เป็นหลัก แต่ว่าช่วงหลังมานี้ขอบเขตงานของลูกค้าที่ให้เราทำเนี่ยขยายวงกว้างมากขึ้น ตอนนี้ถ้าเกิดให้ใช้คำจำกัดความก็คือเป็น ‘ออนกราวนด์ มาร์เก็ตติ้ง’ เราจะได้ยินออนไลน์ มาร์เก็ตติ้งเยอะ แต่อันนี้คือ ออนกราวนด์ จริงๆ เราทำงานโฆษณานะครับ อีเว้นท์เอ็กซิบิชั่นดีไซน์ของเราจริงๆ มันก็คืองานโฆษณาอย่างหนึ่ง อย่างงานแสดงสินค้า หน้าที่ของเราคือการนำเสนอสินค้าให้ลูกค้า ทำอย่างไรให้สามารถสร้างทราฟฟิกให้กับสินค้านั้นแล้วนำไปสู่ยอดขายได้ อันนี้คือเป้าหมายหลักซึ่งมันกลายเป็นสไตล์เราเอง ในการใช้ออนกราวนด์เพื่อสร้าง ‘Feature’ ให้กับลูกค้า สร้างทราฟฟิก สร้างความประทับใจ สร้างแรงดึงดูด แล้วก็นำไปสู่ออนไลน์ เป็นออนกราวนด์สู่ออนไลน์

ส่วน Sense.S คือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ‘Interactive Media’ อันนี้อาจจะเป็นให้เช่า ให้เช่าอุปกรณ์ ให้เช่าติดตั้ง แล้วก็ ‘Custom Made’ พวกงานอินเตอร์แอคทีฟโมดูลใหม่ๆ ส่งขาย ให้กับงาน อีเว้นท์, เอ็กซิบิชัน, มิวเซียม, ห้างสรรพสินค้าต่างๆ อะไรพวกนี้ครับ ส่วน Synonym ก็จะเป็นเรื่องของรีเทลดีไซน์ เป็นเรื่องของ ‘Experience Design’ ในห้างสรรพสินค้า ในรีเทล ดิสเพลย์ดีไซน์ อสังหาริมทรัพย์ โชว์ยูนิตอะไรพวกนี้ ก็จะคืองานอินทีเรียร์ แต่ทั้งสามอย่างนี้ ก็คือสืบเนื่องมาจากที่เราอยู่ในวงการอีเว้นท์มาประมาณ 10 ปี แล้วก็แตกธุรกิจออกไป ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการที่เราเคยทำอีเว้นท์ เคยย่อยข้อมูลให้ลูกค้า แล้วก็จัดแสดง สร้างทราฟฟิกให้ลูกค้า แล้วก็ต่อขยายผลมาเป็น 3 บริษัท

Dbs: ใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรมคืองานดีไซน์ สร้างสิ่งที่เรียกว่า ‘ออนกราวนด์ มาร์เก็ตติ้ง’

PL: ใช่ครับ เดี๋ยวนี้ พอออนไลน์มันเยอะมาก คนก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรไปลงออนไลน์ดี เพราะฉะนั้นมันต้องมีคอนเท้นท์ ออนกราวนด์เนี่ย มันก็คือคอนเท้นท์รูปแบบหนึ่ง ที่คนเข้าไปรับประสบการณ์ ถ่ายรูป เดี๋ยวนี้คนไปกินกาแฟเพราะไม่ได้กินกาแฟแล้ว ไปเพราะอยากได้ประสบการณ์ตรงนั้น เพราะฉะนั้นตรงนี้แหละที่มันจะเปลี่ยนไป เราไม่เรียกมันว่าอีเว้นท์แล้ว เราไม่เรียกมันว่าช็อป เราเรียกมันว่า ออนกราวนด์

Dbs: ในการทำงานที่มีแขนงสาขาที่หลากหลาย งานแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

PL:จริงๆ มันก็แตกต่างกันหมดเลย อย่างที่บอกว่าจริงๆ เรามองงานเหล่านั้นว่ามันเป็นเครื่องมือ คือบางทีลูกค้าเขาอาจจะมีปัญหาทางธุรกิจบางอย่าง เช่น ห้างคนไม่เข้า หรือว่ามีสินค้ามาเปิดตัว แล้วต้องการความ ปัง ในจุดหนึ่ง เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราสร้างเนี่ย ไม่ว่าจะเป็น อินสตอลเลชัน ไม่ว่าจะเป็นอินทีเรียร์ไม่ว่าจะเป็น งานอีเว้นท์ดีไซน์ อะไรพวกนี้ เรามองว่ามันเป็นเครื่องมือมากกว่า มันขึ้นอยู่กับว่า ตอนนั้นปัญหาของลูกค้าคืออะไร ตอนนี้เราเลยมีลูกค้าทั้งสองฝั่ง มีทั้งลูกค้าที่ออร์เดอร์งานเรามา คือ โอเค อยากได้งานอีเว้นท์ดีไซน์ มาจ้างเรา กับลูกค้าที่มีปัญหาแล้วอยากให้เราช่วยแก้ไข เราก็ต้องเลือกเครื่องมือ แต่จะใช้เครื่องมือไหน ซึ่งแต่ละอย่างเนี่ย มันก็มีเทคนิคอลเฉพาะของมัน มันเป็นเหมือน จะพูดว่า ‘Multidispinary’ มันก็คือใช่

A

สมัยก่อนอย่าง ‘สื่อ’ คือคนแค่ดูอย่างเดียว รับรู้แบบเดียว พอต่อมาเนี่ยมันมี ‘New Media’ คือ ไม่ใช่แค่มองอย่างเดียวแล้ว แต่ต้องเข้าไปเล่นได้ เข้าไปปฏิสัมพันธ์ รับกลิ่น มองเห็น สัมผัส ได้ยิน แต่ที่น่าสนใจคือ ในสมัยนี้ ‘New Media’ มันก็ไม่พอแล้ว เพราะมันมีเต็มไปหมดเลย สิ่งที่เราจะต้องทำไปมากขึ้นกว่านั้น คือเรื่องของการตั้งคำถาม ให้เข้าไปอยู่ในระดับจิตใจ ว่า เฮ้ย! นั่นมันคืออะไร เกิดอะไรขึ้น คือความธรรมดามันไม่พอแล้ว มันต้องเป็นอะไรที่เร็วกว่านั้น

พันธวิศ ลวเรืองโชค

Dbs: ความแตกต่างในเรื่องกระบวนการออกแบบ

PL: ถ้างานอินสตอลเลชัน มันก็เป็นงานที่ต้องการการคราฟต์ระดับสูง เพราะว่าบางที มันไปอยู่ในห้างฯ อยู่ในโรงแรม แล้วมันมีความถาวร มันจะแตกต่างจากงานอีเว้นท์เอ็กซิบิชั่น ที่มันจะเป็นงานชั่วคราว หรืองานอินทีเรีย ที่มันก็จะเป็นงานที่เข้าใกล้คนเยอะสุด เพราะว่าคนไปอยู่นานๆ เป็นบ้าน เป็นออฟฟิศ เป็นคาเฟ่ต์ อะไรอย่างนี้ พวกนี้คนมันใช้งานนาน เพราะฉะนั้นเนี่ย เรื่องของระบบ การคิด ดีเทล มันจะแตกต่างกัน แต่ว่างานทั้งหมดทุกชิ้นพอมาเป็นอะโพส เราจะมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างปฏิสัมพันธ์ สโลแกนเราจึงชัดเจนเลยคือ ‘เราไม่ใช่ดีไซเนอร์ แต่เราให้ทุกคนเป็นดีไซเนอร์’ แต่ว่าการสร้างปฏิสัมพันธ์ตรงนี้มันก็มีหลายระดับ คือ สมัยก่อนอย่าง ‘สื่อ’ คือคนแค่ดูอย่างเดียว รับรู้แบบเดียว พอต่อมาเนี่ยมันมี ‘New Media’ คือ ไม่ใช่แค่มองอย่างเดียวแล้ว แต่ต้องเข้าไปเล่นได้ เข้าไปปฏิสัมพันธ์ รับกลิ่น มองเห็น สัมผัส ได้ยิน แต่ที่น่าสนใจคือ ในสมัยนี้ ‘New Media’ มันก็ไม่พอแล้ว เพราะมันมีเต็มไปหมดเลย สิ่งที่เราจะต้องทำไปมากขึ้นกว่านั้น คือเรื่องของการตั้งคำถาม ให้เข้าไปอยู่ในระดับจิตใจ ว่า เฮ้ย! นั่นมันคืออะไร เกิดอะไรขึ้น คือความธรรมดามันไม่พอแล้ว มันต้องเป็นอะไรที่เร็วกว่านั้น ช่วงนี้ที่เราเปิดบริษัทเพื่อทำงานหลากหลายแบบหลากหลายแขนง เราก็จะใช้รูปแบบการทำงานแบบ

อีเว้นท์ที่เราถนัดกันมาสิบปีนี่แหละ มาจับกับทุกอัน เพราะฉะนั้นนอกจากเรื่องของการปฏิสัมพันธ์อะไรต่างๆ มันก็จะเป็นเรื่องของกระบวนการการผลิตที่รวดเร็วมาก อย่างศูนย์ข่าวช่องเจ็ด (ศูนย์ข่าวภูมิภาคช่อง 7 จังหวัดขอนแก่น) เราใช้เวลา 2 เดือนนะ Synonym ที่เพิ่งเปิดมาก็ทำไปแล้ว 8 โปรเจ็กต์ ในระยะเวลาสั้นๆ 

Dbs: อยากให้ขยายความสิ่งที่กำลังจะไปไกลกว่า ‘New Media’ ที่คุณพูดถึง

PL: ยกตัวอย่างมิวเซียม เราจะเห็นว่าเมื่อสิบปีที่แล้วเนี่ย มีจอกดนี่คือ หวือหวามาก แต่พอยุคนี้ มีไอโฟน มีมือถือที่มันอยู่กับมือเราน่ะ มันทำได้หมดแล้ว เพราะฉะนั้น หลังจากนี้ไปมันอาจจะไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีตอนนี้ผมบอกได้เลยว่า 3 ปีมาแล้วที่ไม่ได้มีอะไรใหม่ อย่าง Sense.S เนี่ยที่เมื่อก่อนขายอินเตอร์แอคทีฟได้มาก มันมี 3 ปีมานี้ที่เราไม่ได้ขยายโมดูลใหม่ เพราะว่ามันไม่ได้มีอะไรใหม่แล้ว ตอนนี้ถ้าเราไปดูการเคลื่อนไหวของเทคโนโลยี ก็มีไม่กี่อย่างครับ มี ‘VR’ (Virtual Reality) ที่เป็นพวกใส่แว่นเข้าไป มี ‘3D Printing’ หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งพวกนี้มันต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งในการที่จะทำให้มันราคาถูกลง ถึงจะแพร่หลายมากขึ้น ตอนนี้ ‘New Media’ ถ้าเป็นในตลาดอีเว้นท์เอ็กซิบิชั่นเนี่ย มันเยอะมาก จนแบบมันไม่ใช่ของใหม่อีกต่อไปแล้ว ลูกค้าเริ่มตั้งคำถามแล้วว่าเราจะซื้อมันทำไม ในเมื่อมันไม่ใช่ของใหม่ เพราะฉะนั้น หลังจากนี้มันก็ยังไม่มียุคที่บอกชัดเจนนะ ว่าไอ้ยุคหลัง ‘New Media’ เนี่ยมันคืออะไร แต่มันจะกลับมามองในแง่มุมของการเอาไปใช้ ก็คือกลับไปที่คอนเท้นท์ ซึ่งมันกลายเป็นว่า คอนเท้นท์เนี่ย มันเป็น ‘King’ จริงๆ ‘Content is the King’ จริงๆ เพราะตอนนี้ ฟีดเยอะ ทุกอย่างเยอะ แหล่งข้อมูลข่าวสารเยอะ แต่ว่าข้อมูลข่าวสารแบบไหนล่ะ ที่มันจะขึ้นมา พวกนี้ต่างหากที่มันจะต้องใช้ประสบการณ์ องค์ความรู้ แล้วต้องใช้รีเสิร์ชผมว่าสิ่งที่มันจะจำเป็นต่อไปก็คือเรื่องของการรีเสิร์ช ดูพฤติกรรมของคนจริงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น

Dbs: เวลาเข้าหางานที่หลากหลายมากๆ ตัวคุณเองต้องใช้องค์ความรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม ศิลปะ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ หรือแม้กระทั่งมนุษย์ศาสตร์

PL: อันนี้แน่นอน เพราะมันตั้งต้นจากธุรกิจก่อน ธุรกิจสร้างสรรค์เนี่ย ผมว่ามันเป็นธุรกิจที่เฉพาะตัวนะ จะแตกต่างจากธุรกิจอุตสาหกรรม หรือธุรกิจซื้อมาขายไปอะไรพวกนี้อย่างมาก ธุรกิจสร้างสรรค์เนี่ย มันใช้มนุษย์เป็นคนทำ มันไม่สามารถใช้เครื่องจักรมาผลิตงานสร้างสรรค์ได้ เรื่องที่เกี่ยวกับคนนี่ก็เป็นเรื่องสำคัญมากๆ แล้วก็ตอนนี้สิ่งที่เราต้องศึกษาเลย คือตั้งแต่ปี 2015-2016 เป็นต้นมา เราจะลงทุนศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของคนเยอะ คือรีเสิร์ชจริงจังเลย ว่ามันเกิดปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะออนไลน์ ออฟไลน์ อะไรต่างๆ เพราะว่างานของอะโพสมันเป็นงานที่ทัชกับคนรุ่นใหม่ มันเป็นงานที่ต้องการความใหม่ตลอดเวลา เราต้องลงไปดูว่าจริงๆ แล้วคนใช้งานจริงๆ เด็กรุ่นใหม่จริงๆ เขาเป็นยังไง แล้วตอนนี้ สิ่งที่เราเจอคือมันน่ากลัวมาก คือสิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่ได้เปลี่ยนทุกๆ แบบ 10 ปีอีกต่อไปแล้ว แต่มันเปลี่ยนทุกๆ แค่ 6 เดือน เพราะฉะนั้นอะโพสเอง นอกจากที่จะต้องเป็นบริษัทที่ทำเรื่องออนกราวนด์ มาร์เก็ตติ้ง เป็นดีไซเนอร์ ก็จำเป็นที่จะต้องเป็นสื่อในตัวเองด้วย เพื่อที่จะขับเคลื่อนคอนเท้นท์ เพื่อให้มันมีไดนามิก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

Dbs: กับบริษัทอื่นๆ ที่ทำงานสร้างสรรค์ ก็อาจจำเป็นที่จะต้องปรับตัว ผลิตเครื่องมือต่างๆ ด้วยตัวเองขึ้นมาเช่นเดียวกัน เพื่อรองรับคนรุ่นใหม่และกระแสโลกที่เปลี่ยนไป

PL: ใช่ ผมสนใจในแง่ที่ว่า หนึ่งคือต้องขยายตัวเองไปตามพฤติกรรมของตัวผู้บริโภค สองคือเรื่องของมาร์เก็ตติ้ง คุณต้องมาร์เก็ตติ้งด้วย อย่างอะโพสเราเพิ่งมี ‘Marketing Communication’ เหมือนอย่างที่บอก มันจะรอลูกค้าวิ่งเข้ามาหาอย่างเดียวเนี่ยเป็นไปไม่ได้แล้ว มันอาจจะต้องสร้างแพลตฟอร์มบางอย่าง หรือเครื่องมืออะไรบางอย่างหรือเปล่า เพื่อให้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งตอนนั้นมี Case Study เป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจ มันคือ Website ที่เป็นการรวมกลุ่มกันของกราฟิกดีไซเนอร์ ก็เป็นเหมือนเน็ตเวิร์ก ที่มีคนมารวมกันพันคนหรืออะไรอย่างนี้นะครับ ทีนี้พอเวลาลูกค้าต้องการงาน ก็สมัครเข้าไป แล้วก็บรีฟงานเข้าไป ทีนี้มันก็จะมีคนพันคนส่งงานมาให้ ให้เลือกเลยนะฮะ เลือกมาโอเค ให้เรามาดีเวล็อป อันนี้ก็เป็นแพลตฟอร์ม ที่บอกเราได้ว่า ต้องปรับตัวยังไง คือมันอาจจะไม่ได้อยู่ที่ว่า โลโก้สวยไม่สวย หรือลูกค้าชอบไม่ชอบแล้ว แต่มันจะต้องตรงไปที่ความต้องการของลูกค้าเลยว่าเค้าต้องการโลโก้เพราะว่า อะไร เพราะว่าคนจำไม่ได้หรือเปล่า? พอคนจำไม่ได้ปุ๊บยอดขายไม่ขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาออกแบบโลโก้ให้ยอดขายขึ้นเนี่ย ต้องทำอย่างไร? อันนี้มันคือคอนเท้นท์ที่ต่อไปมันจะต้องสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

Dbs: แล้วกับงานสถาปัตยกรรมเอง เครื่องมือที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ทำให้วิธีการทำงานของนักออกแบบเปลี่ยนไปอย่างไร

PL: คิดว่ามันจะเอามาเข้าใจโจทย์ของสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ชัดเจนขึ้น หน้าที่สถาปนิกอาจจะจำเป็นที่จะต้องลงไปลึกมากกว่าแค่ออกแบบละ อาจจะต้องเป็นเหมือน ทำตัวเป็นเพื่อน เป็นนักจิตวิทยา เป็นนักการตลาด คือต้องขยายบทบาทของตัวเองให้มากขึ้นเพื่อที่จะไปหาดูว่าจริงๆ แล้วเนี่ย ลูกค้าต้องการอะไร แล้วเราต้องใช้ทุกเครื่องมือไปทำให้เป้าหมายนั้นมันสำเร็จ สุดท้ายมันอาจจะไม่ใช่แค่งานดีไซน์ที่เป็นคำตอบ


Dbs: รูปธรรมของบ้านอาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของงานออกแบบอย่างนั้นหรือเปล่าครับ

PL: ยกตัวอย่าง ‘Casa Lawa’ ในมุมมองผม อันนี้มันเป็นการทดลอง ถ้ามีคนบอกว่า ‘บ้าน’ มันต้องใช้อยู่อาศัย แต่ผมรู้สึกว่า ความหมายมันเปลี่ยน บ้านอาจจะไม่ใช่บ้านแล้ว บ้านหลังนั้นเป้าหมายเนี่ยไม่ได้เพื่อการอยู่ เพราะฉะนั้นมันไม่ได้ถูกทำมาในสไตล์ที่ตัวผมชอบ แต่มันเป็นการทดลอง เหมือน ‘House 8’ ของ Charles and Ray Eames ที่ทำมาเพื่อทดลองว่า เฟอร์นิเจอร์ของเขามาอยู่ในบ้านแล้วมันโอเคไหมก่อนที่จะผลิตออกมาขาย เพราะฉะนั้นมันก็มีการทดลองเรื่องของแพลตฟอร์ม ในความเป็นบ้านที่มากกว่าบ้าน ยกตัวอย่างเช่นบ้านที่สามารถสร้างคอนเท้นท์ ผมก็ทดลองจริงๆ เอาตัวเองลองทดลอง แล้วคอนเท้นท์มันก็เปลี่ยน จากที่ผมก็เป็นดีไซเนอร์ใช่ไหมครับ เปิดบริษัทดีไซน์ แต่กลายเป็นว่าได้ไปลงนิตยสารที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานดีไซน์ คือไปลงอะไรที่มันไม่ได้คาดหวัง หรือว่าตัวบ้านเองก็ได้ไปลงหนังสือที่เป็นลักชัวรี่ของเมืองนอก เนี่ยมันเปลี่ยนหมด แล้วมันก็มีคอนเท้นท์อยู่

อย่างตัว ‘Casa Lawa’ มันจะเป็นมุมๆ ซึ่งในแต่ละมุมๆ เนี่ย มันทำหน้าที่เป็น ‘Feature’ เราเรียกมันว่า ‘Feature’ คือเป็นลักษณะพิเศษ เหมือนห้างครับ ที่ถ้าเราดูแบรนด์ห้างใหญ่ที่ขยายสาขาเยอะๆ ในประเทศไทยเนี่ย จะเห็นว่าหน้าตาจะคล้ายๆ กัน ทำไมต้องคล้ายกัน? เพราะว่า มันมีเรื่อง ‘Sense of Place’ อยู่ เช่น  ถ้าเราเอาเครื่องสำอางย้ายที่ คนจะหาไม่เจอ เพราะฉะนั้น ห้างมันจึงต้องหน้าตาคล้ายๆ กัน แต่สิ่งที่มันแตกต่างกันคืออะไร? แตกต่างที่ ‘Feature’ เช่น สกิน, เรื่องของงานศิลปะข้างใน ที่ทำให้คนจำได้คนไปถ่ายรูป หรือไปสร้าง ‘Feature’ ทางการตลาดใหม่ๆ  เช่น อันนี้มีสิ่งนี้อันแรกของโลกนะ, อันนี้เป็นไลติ้งวอลล์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลกนะ หรือทำให้เป็น ‘Feature’ กิจกรรม เช่น เช่าสุนัขไปเดินจูงได้, มีลานกองทรายให้เด็กไปเล่น, เป็นสวนสาธารณะของเมือง อันนี้คือ ‘Feature’ เพราะฉะนั้นตัว ‘Casa Lawa’ เราก็ลองแบบนั้น คือลองแต่ละมุมให้เป็นแต่ละ ‘Feature’ เช่น เอาลอบบี้โรงแรมมาอยู่ในบ้าน, เอาสวนทางตั้งที่แบบมันเล็กมากจนมันไม่น่าเป็นไปได้ไปอยู่หลังบ้าน ใช้ ‘Feature’ แปลกๆ แบบนี้เต็มไปหมดเลย แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มันกลายเป็นคอนเท้นท์ใหม่ แล้วก็มันไปผลักดันออนไลน์ แพร่กระจายออกไป เป็นออนกราวนด์สู่ออนไลน์ อันนี้ก็คือเรื่องหนึ่งเลยที่เทคโนโลยีทำให้ความหมายของบ้านหลังนี้เปลี่ยน แล้วมันก็เปลี่ยนวิถีชีวิตคนอยู่

ก็อย่างตัวบ้านเนี่ย ถามผมว่าออกแบบบ้านหรือเปล่า ผมบอกว่าผมทำโฆษณา ผมก็บอกว่าผมทำออนกราวนด์มาเก็ตติง คือตอนนี้คนทำออนไลน์เยอะ ถึงแม้ว่าจะมีออนไลน์เยอะมากเท่าไหร่ แต่สุดท้ายคนก็ยังต้องการรูปธรรม สุดสัปดาห์ก็ต้องหาที่ไปไหนกันสักที่ อะไรแบบนี้ครับ

B

Casa Lawa’ เราก็ลองแบบนั้น คือลองแต่ละมุมให้เป็นแต่ละ ‘Feature’ เช่น เอาลอบบี้โรงแรมมาอยู่ในบ้าน, เอาสวนทางตั้งที่แบบมันเล็กมากจนมันไม่น่าเป็นไปได้ไปอยู่หลังบ้าน ใช้ ‘Feature’ แปลกๆ แบบนี้เต็มไปหมดเลย แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มันกลายเป็นคอนเท้นท์ใหม่ แล้วก็มันไปผลักดันออนไลน์ แพร่กระจายออกไป เป็นออนกราวนด์สู่ออนไลน์ อันนี้ก็คือเรื่องหนึ่งเลยที่เทคโนโลยีทำให้ความหมายของบ้านหลังนี้เปลี่ยน แล้วมันก็เปลี่ยนวิถีชีวิตคนอยู่

พันธวิศ ลวเรืองโชค

Dbs: การที่บ้านกลับมาเปลี่ยนแปลงตัวคุณเองนั้นเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

PL: ก็เปลี่ยนเยอะมาก เพราะว่ามันเป็นลักชัวรี่มาก ของทุกอย่างมันก็จะเปราะบางมาก มันก็อยู่ไม่ได้แรกๆ แต่ว่าสุดท้ายโอเคมันก็ปรับตัวเองได้ ทำให้เราเข้าใจว่า คนที่เขาทำสเปซแบบนี้ เค้าต้องการอะไรอย่างแท้จริง ก็เป็นองค์ความรู้ที่สามารถเอาไปใช้กับลูกค้า มันก็เป็นการทดลอง หนึ่งคือออนกราวนด์สู่ออนไลน์มันเป็นยังไง แล้วก็การเอาคอนเท้นท์เนี่ยไปเปลี่ยนสเปซ แล้วก็ให้คอนเท้นท์เนี่ยมันมีผลมาที่เรา มันจะเกิดอะไรขึ้น

Dbs: ในแง่การทำงานออกแบบ คุณมีการปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นทุกวันอย่างไร

PL: คือเราจำเป็นต้องมี ‘R&D’ (Research & Development) เพราะว่าเราต้องเสิร์ฟของใหม่ให้ลูกค้า เราต้องทดลองเอง ผมอยากจะยกตัวอย่าง ‘Casa Lawa’ ที่คนแวดวงดีไซนเนอร์จะเข้าใจ ว่ามันเป็นเหมือนการ ‘R&D’ คือทดลองขึ้นมาก่อนทำให้ลูกค้า แต่จริงๆ ในเชิงของเทคนิคอลเราก็มี ก็คือมีการทดลองเทคนิคต่าง การเขียนโค้ด หรืออื่นๆ คือเราจะมีหน่วยหนึ่งเลยที่หาของใหม่ๆ พวกนี้ แล้วก็ทดลอง จริงๆ อย่าง ‘VR’ (Virtual Reality) เนี่ยเราก็เคยทำในบางงานก่อนหน้านี้ แต่ว่าไม่ค่อยเวิร์ก คือลูกค้าไปเจอเว็บเมืองนอก เจ๋งดีนะ ลองหน่อย พอลองปุ๊บ มันไม่ค่อยเหมาะกับคนไทย เพราะว่ามันต้องใส่แว่น คนต่อคน มันเล่นได้ทีละคน ซึ่งพอต้องใส่แว่นซ้ำๆ กัน คนก็จะไม่ชอบ มันเป็นพฤติกรรมของคนไทยที่ยังไม่เวิร์ก เป็นต้น หรือ ‘3D Printing’ เราก็ลองนะครับ เราก็ลองทำ ‘Feature’ ศิลปะให้กับห้างสรรพสินค้า เพียงแต่ว่าเราต้องใช้มันอย่างเหมาะสม เพราะตอนนี้มันมีที่เอามาใช้สำหรับทั้งตึกเลยเอามาเรียงอิฐเลย โอเคอย่างนี้เมืองนอกมี แต่ว่าตอนนี้ถ้าเอามาใช้ สุดท้ายแล้วลูกค้าไม่ซื้อเพราะว่าราคาสูงมาก ขาดทุนมาก เพราะฉะนั้นพวกนี้มันจึงเป็นสิ่งที่เราต้องลองดูก่อน

Dbs: กับเฉพาะเทคโนโลยี ‘3D Printing’ เอง คุณได้ทดลองใช้ในลักษณะไหนบ้าง

PL: ทดลองทำ ‘Prototype’ เพราะว่า ถ้าเกิดเราเอามาใช้ในงานเลยเนี่ย มันจะแพงมาก ตอนนี้ที่เราเอามาใช้คือเป็น ‘Prototype’ เป็นม็อกอัพก่อนที่จะเอาไปผลิตจริง หรือว่าทำเป็นโมหล่อ เพื่อมาหล่อเป็นตัวแบบหลายๆ ชิ้น เพื่อเอาไปห้อย เอาไปแขวน อะไรอย่างนี้ แล้วก็ มันจะเป็นลักษณะที่ผมเรียกมันว่า ‘Semi-Fabrication’ คือ ผสมกับไทยประดิษฐ์ หมายความว่า โอเคเราอาจจะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลแฟบบริเคชันระดับหนึ่ง ใช้คอมพิวเตอร์เจเนอเรตฟอร์มขึ้นมา แต่พอมาถึงจุดหนึ่งปุ๊บ ถ้าเป็นดิจิตอลแฟบบริเคชันแท้ๆ ก็คือต้องส่งเข้ากระบวนการผลิตแล้วก็ออกมาเลย คือใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่คิดงาน ทำแบบ ผลิต จนถึงจบ ซึ่งราคาสูงมากๆ แต่สำหรับเราเรียกมันว่า ‘Semi-Fabrication’ เพราะว่าเราทำครึ่งหนึ่ง คือใช้คอมพิวเตอร์เจเนอเรตแล้วหยุดไว้ อีกครึ่งหนึ่งคือเอาไปให้ช่าง ใช้ภูมิปัญญาไทยประดิษฐ์นี่แหละ อันนี้ช่างทำยังไงได้บ้าง วัสดุของช่างมีอะไรบ้าง ผู้รับเหมาเราทำแบบไหนที่จะสามารถทำได้ และด้วยราคาถูก ซึ่งมันก็มีงานกระเบื้องตราเพชร (Diamond Tile Pavilion @ ASA Bangkok 2011) อันนี้ก็ได้ไปลงในเคสของงานดิจิตอลแฟบบริเคชันของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งฝรั่งเขาก็จะงงเหมือนกัน ว่าทำได้อย่างไร อันนี้ก็เจเนอเรตขึ้นมา เลย ช่างเห็นทีแรกก็ร้องเหมือนกัน แต่ว่าเราก็ใช้เทคนิคต่างๆ มาทดแทนการ ‘CNC’ หรือเลเซอร์คัตที่คิดเงินเป็นชั่วโมง อันนี้ก็เป็นวิธีการแบบ ‘Semi-Fabrication’ ที่ทำให้เราสามารถผลักดันงานดิจิตอลๆ ของเรา ออกไปได้

Dbs: สำหรับงานศูนย์ข่าวภูมิภาคช่อง 7 จังหวัดขอนแก่นเอง ก็มีเทคโนโลยีในส่วนนี้ด้วย

PL: ช่อง 7 นี่ก็ใช้หนักเลยเหมือนกัน แต่ว่าตอนแรกมันไปไกลกว่านี้มาก มันมีความเป็นสามมิติมาก คือศูนย์ข่าวเนี่ยผมทำของเชียงใหม่มาก่อน แล้วก็ที่ขอนแก่น ปีนี้อาจจะมีที่ภาคใต้ ซึ่งศูนย์ข่าวประจำภาคอีสานอันนี้ มันคือการที่เขาไปเช่าปั้มน้ำมันเก่า ซึ่งสัญญาอาจจะอยู่ที่ 3-5 ปี ไม่ได้เป็นการซื้อขาด เพราะฉะนั้นแบบที่เราทำตอนแรกซึ่งมีงบประมาณ

ค่อนข้างสูง เลยทำให้มันไม่คุ้ม ซึ่งอันนี้คือดิจิตอลแฟบ บริเคชันเลย โดยเฉพาะพวกสกิน เชลเตอร์เนี่ยมันคือการใช้ ‘Fabric Prototype’ ทำต้นแบบทุกๆ ชิ้นเลย แต่ว่าเราก็ใช้วิธีการแบบ ‘Semi-Fabrication’ อีกเหมือนกัน จะเห็นว่าสกินเนี่ยมันจะเป็นวิธีการโค้งแบบ 2 ทิศทาง แล้วก็เป็นสกินที่เอามาจากลายสานของกระติบข้าว เหมือนคนที่อ่านข่าว หรือห้องข่าวนั่งอยู่ในกระติบน่ะครับ ซึ่งที่ตั้งอาคารมันอยู่บนถนนหลักของภาคอีสาน แล้วทางช่อง 7 เขาเปิดโอกาสให้เราเปลี่ยนลุค คือต้องการให้ทันสมัย ซึ่งผมว่าอันนี้มันคือพลังของโซเชียล ที่มันทำให้ความหมายของ ‘ห้องข่าว’ เปลี่ยน ซึ่งมันก็เป็นปรากฏการณ์นะครับ ไม่ใช่เฉพาะห้องข่าวช่อง 7 ห้องข่าวของหลายๆ ช่อง อย่างช่อง NOW (NOW 26 ออกแบบโดย Architectkidd) ก็จะเห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ที่คล้ายๆ กัน มันเป็นเรื่องของการก้าวข้ามคำว่าห้องอ่านข่าวไปแล้ว เพราะจริงๆ ห้องอ่านข่าวมันคือต้องการแค่ ห้องห้องหนึ่ง แล้วก็มีออฟฟิศเล็กๆ ด้านหลัง แต่ว่าอันนี้มันมากกว่านั้นละ มันคือเรื่องของการสร้างตัวตน ต้องการที่จะขยายความหมายออกไป มันจะไม่ใช่แค่สเปซแล้ว

Dbs: ในเชิงเทคนิคของ ‘3D Printing’ ภายในโปรเจ็กต์ศูนย์ข่าวช่อง 7 มีอะไรอื่นๆ อีกบ้าง

PL: อย่างที่บอกว่ามันคืองาน ‘Semi-Fabrication’ เพราะฉะนั้น มันจะเป็นการทำงานแบบ ‘Parametric’ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทุกวันจากลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น งบประมาณเปลี่ยน มีฟังก์ชันที่ต้องเพิ่มเข้ามา เพราะมีการใช้งานที่เปลี่ยนไป ซึ่งบางอย่างเราไม่สามารถควบคุมได้ วิธีการคือในคอมพิวเตอร์เนี่ยเราเขียนโค้ดขึ้นมาเป็นชุดหนึ่งชุด แล้วก็สามารถไปเปลี่ยนค่าได้ เพราะฉะนั้นถ้าลูกค้าเปลี่ยนงบปุ๊บ เราใส่ค่าเข้าไป แพตเทิร์นที่เกิดขึ้นก็จะเปลี่ยน จนมันโอเค แต่ถ้าเกิดเราไม่มีเครื่องมือหรือกระบวนการพวกนี้ ลูกค้าเปลี่ยนวันนี้ พรุ่งนี้ต้องทำแบบขึ้นมาใหม่เนี่ย มันก็ไม่ใช่แล้ว เพราะเปลี่ยนกันเป็นร้อยเวอร์ชั่น

Dbs: ดูเหมือนว่ากระบวนการทุกอย่างจะกลายเป็นอยู่ในคอมพิวเตอร์จริงๆ

PL: ใช่ครับ มันจะมากกว่าการสร้างฟอร์มแล้ว มันเป็นการเอามาช่วย อันนี้ผมคิดว่ามันเป็นมูฟเม้นต์ใหม่ๆ มากกว่า แต่การที่จะสามารถแบบ สเก็ตช์ลงบนไอโฟน ไอแพ็ด หรืออะไรพวกนี้ ผมว่าตรงนี้อาจจะยัง เพราะมันยังผิดเซ้นส์ของคนทำงาน คนทำงานยังต้องการการจับกระดาษ ถ้าวันนี้ ‘Paperless’ เลย คือ มันยังไม่ได้อะ เพราะคนมันยังต้องใช้กระดาษอยู่ แต่ผมคิดว่ามันจะมาช่วยแก้ปัญหา อย่างเช่นลูกค้าไม่นิ่งในเรื่องเงื่อนไข เรื่องเงินเรื่องอะไร เทคโนโลยีในการสร้างค่าตัวแปรจำลองภาพขึ้นมาแล้วเปลี่ยนแปลงได้อะไรพวกนี้ มันคงเป็นตัวช่วยมากกว่า อำนวยความสะดวกให้ดีไซเนอร์

Dbs: พูดถึงการทำงานของส่วน Apos 2 หรือ Apos  Square มีความสัมพันธ์กับการตกแต่งสถานที่ทำงานที่ค่อนข้างแปลกใหม่ ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับการสร้างวัฒนธรรมการทำงานของนักออกแบบรุ่นใหม่หรือไม่

PL: อะโพส 2 เองก็เป็น ‘Feature’ ดีไซน์เพื่อทดลองคอนเน็คกับคนรุ่นใหม่ ถามว่าจำเป็นไหม ก็คงตอบว่าไม่จำเป็น ผมยังยืนยันในการทำออฟฟิศที่มีระเบียบเรียบร้อย แต่ไม่ฟุ้งเฟ้อ แต่ว่า ณ ยุคนี้ อะโพส 2 นี่มันชัดมาก ‘Feature’ ดีไซน์ของมันสร้างมาเพื่อคนรุ่นใหม่ เพราะฉะนั้นคนที่เข้ามาสมัครงานอะโพส 2 เขาอาจจะไม่ได้รู้จักอะโพสเลยก็ได้ แต่เขาอยากจะอยู่ในสเปซนี้ ก็มี ผมก็ไม่รู้ว่ามันดีหรือมันไม่ดี แต่มันเป็นการทดลอง ว่าคนรุ่นใหม่เขาคิดอย่างไร เป็นแบบไหน แต่ว่าเราก็ไม่ได้ไปมองในแง่ของการโฆษณาอะไรมากขนาดนั้น เราก็เอาเรื่องของวัฒนธรรมการทำงานของอะโพส หรือปัญหาที่มันเกิดขึ้นมาภายใน 5-6 ปี เข้าไปแก้ไข ยกตัวอย่างเช่น มันมีเรื่องคำพูด มีเรื่องของ โควต ต่างๆ ที่เราใช้สอน เอาไปแปะไว้ ซึมเข้าไปอยู่ทุกๆ สเปซที่เขาอยู่ แล้วก็จะมีการทดลองใช้สีอย่างไร ที่มันจะโอเคหรือไม่โอเคแล้วถ้าดูดีๆ เนี่ย มันจะเป็นโครงสร้างชั่วคราว คือมันไม่ใช่บิลต์อิน มันเป็นแบบกึ่งลอยตัว เป็น ‘Fast

Architecture’ คือถูกสร้างให้เร็ว แล้วจะเห็นว่ามันไม่ได้ยึดติดอยู่กับผนังเลยแม้แต่ชั้นวางต่างๆ เพราะว่าเรากะย้ายแน่นอน อันนี้คือเป็นเพียงห้องทดลอง ลองทั้งกระบวนการผลิต ลองทั้ง ‘Fast Architecture’ ลองทั้งการใช้สี ลองคอนเน็คกับคนรุ่นใหม่ ลองสร้าง ‘Feature’ สร้างคอนเท้นท์ ลองหลายๆ อย่าง เพราะฉะนั้น อะโพส 2 มันก็ไม่ใช่แค่ห้องทำงานละ มันก็เป็นห้องทดลอง เป็นอะไรอีกหลายๆ อย่าง

Dbs: ล่าสุด โครงการ Thailand Kingdom of Light 2 ได้กลายเป็นเหมือนไฮไลต์ใหม่ล่าสุดในบรรดาผลงานในช่วงท้ายปี 2015 ของ Apostrophy’s

PL: เหมือนอย่างที่บอกว่าความเป็นจริงเราไม่ได้มีเทคโนโลยีอะไรใหม่มานานแล้ว แต่ว่าคนก็ยังรู้สึกว่าใหม่อยู่ คือ ‘Thailand Kingdom of Light’ เนี่ย มันเป็นเทศกาลแสง ซึ่งไม่มีผู้ว่าจ้าง คืออะโพสเนี่ยทำเทศกาลแสงเป็นเจ้าแรกๆ ของบ้านเราเลย เพราะเมื่อก่อนเนี่ยมันไม่มีเทศกาลแสงนะครับ มันเป็นแบบ จัดไฟตามถนน อะไรพวกนี้ แล้วก็ผมไปเห็นต่างประเทศ หลายๆ ประเทศ เยอรมันก็มี ฝรั่งเศสก็มี ญี่ปุ่นก็มี ทำไมประเทศเราจะมีไม่ได้ เราก็เริ่มทำที่ขอนแก่นก่อน (ปาร์ตี้ปีแสง เทศกาลอีสานเค้าท์ดาวน์ 2011) แล้วก็มาที่ราชพฤกษ์ เชียงใหม่ (Imagination Light Garden 2012 อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่) พอถึงจุดหนึ่งเราก็ โอเค มาที่กรุงเทพฯ กัน เราก็รวมหุ้นกับพาร์ตเนอร์ที่เป็นออร์แกไนเซอร์ เราก็รับหน้าที่ออกแบบ แล้วไปหาสปอนเซอร์ร่วมกัน เพราะฉะนั้นเนี่ยมันเป็นงานที่ไม่มีลูกค้า ปีแรกเราทำที่ราชดำเนินก่อน แล้วก็มันมีเหตุการณ์ความไม่สงบ ก็เลยจำเป็นต้องเลิก พอปีที่สอง เราก็จัดขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้น ผมว่ามันเป็นมากกว่าแค่งานออกแบบ แต่ผมว่ามันเป็นเรื่องของตอนนี้ คนที่ไปงาน ‘Thailand Kingdom of Light’ มันเหมือนคนไปงานอีเว้นท์น่ะ ปกติมันก็จะมีอีกหลายวิธีที่ใช้ดึงคน เช่น เอาดารามา หรือไปดูคอนเสิร์ต ก็เพราะไปดูนักร้อง อะไรทั้งหลายแหล่ที่มันไม่ใช่งานออกแบบ แต่ว่า ‘Thailand Kingdom of Light’ เนี่ย มันคือ คนไปดูแสง ที่เราทำจริงๆ แล้วมันก็มีคนดูทั่วโลก

Dbs: กับงานอีเว้นท์อื่นๆ ที่ Apostrophy’s มุ่งสร้างทราฟฟิกให้กับสินค้าต่างๆ ในส่วนของ ‘Thailand Kingdom of Light 2’ เอง มีประเด็นในการสร้างทราฟฟิกตรงนี้อย่างไร

PL: อันนี้คือ มันเป็นสปิริต (นิ่งคิด) อันอื่นๆ เนี่ย ลูกค้ามาจ้าง แต่อันนี้ เราไม่มีลูกค้า มันคือสปิริต หนึ่งคือเราต้องการให้งานแสงมันเกิดขึ้น อันที่สองเนี่ย ราชประสงค์มันคือพื้นที่บอบช้ำทางการเมือง มีอะไรคนก็ไปลงกันตรงนั้น ก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือนก็มีเหตุการณ์ระเบิด แต่ว่าสุดท้ายเราก็ยืนให้มันเกิด เพราะว่า ภาพที่มันออกมาก็ออกไปต่างประเทศด้วยนะครับ ททท. เองก็ให้ที่นี่เป็น ‘Amazing Thailand’ ด้วย เพราะฉะนั้นมันเลยทำให้เราอยากทำให้พื้นที่ตรงนี้มีภาพที่มันไม่ได้แย่ แล้วมันก็เป็นสัญลักษณ์เชิงตัวแทน ว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ที่เรายืนกันอยู่ ก็เป็นเพราะเรื่องนี้

01 (1)COTTO Milan 2013

01COTTO Milan 2013

02จิ้มไหล่ เฟสติวัล 2015

03Raptor 2011 The Concert

04Loy Krathong Udonthani

05
Casa Lawa’
05 (2)
Casa Lawa’05 (1)

Casa Lawa’

06 (1)Diamond Tile Pavilion @ ASA 2011

07ศูนย์ข่าวช่อง 7 จ.ขอนแก่น 07 (1)ศูนย์ข่าวช่อง 7 จ.ขอนแก่น

08 (1)Thailand Kingdom of Light 2015 08Thailand Kingdom of Light 2015

Leave A Comment