YELLOW SUBMARINE COFFEE TANK

13

คำถามในความเงียบ ของสถาปัตยกรรมพูดน้อย

Text: กรกฏ หลอดคำ
Photo: เกตน์สิรี วงศ์วาร
Architect: Secondfloor Architects

หากจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งปลูกสร้างกับสถานที่ตั้งไม่ว่าจะอยู่ใน บริบทแบบใดก็ตาม ‘เขาใหญ่’ หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวอากาศเย็นในใจของใครหลายคน ก็อาจนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่มีรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่ง ปลูกสร้างกับสถานที่ตั้งที่แตกต่างหลากหลายในระดับที่ไม่ใช่ทุกสถานที่ใน ประเทศไทยที่จะสามารถมีความผสมปนเปของสิ่งปลูกสร้างได้มากเท่ากับสถานที่นี้ ได้อีก ในขณะที่หลายคนกำลังพูดถึงการสร้างสถาปัตยกรรมให้ ‘กลมกลืนกับบริบท’ ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง สำหรับเขาใหญ่เอง ในผืนดินข้างๆ กันนั้น อาจจะกำลังมีรูปแบบของสถาปัตยกรรมต่างสัญชาติหรือแม้กระทั่งสิ่งมหัศจรรย์ (จำลอง) ของโลก ถูกสร้างขึ้นเมื่อใดก็ได้ ในบริบทความคิดแบบ ‘เขาใหญ่ๆ’

จริงหรือที่เราต้องการ ‘เข้ากัน’ กับบริบทแวดล้อม? มีความ ‘เข้ากัน’ กับบริบทแบบใดอีกหรือไม่นอกเหนือจากการมองออกไปยังทัศนียภาพของภูเขาเขียว? สถาปัตยกรรมกับบริบทแวดล้อมสามารถทำงานร่วมกันได้ในแบบใดบ้าง? คำถามที่ดูเหมือนจะถูกตั้งอยู่ไม่รู้จบ เป็นความสงสัยของทีม ‘สถาปนิกชั้นสอง’ หรือ ‘Secondfloor Architects’ ผู้รังสรรค์คาเฟ่เรือดำน้ำบนยอดเขาใหญ่ ‘Yellow Submarine Coffee Tank’ สถาปัตยกรรมที่ตั้งใจที่จะสร้างให้ ‘ไม่เข้ากัน’ กับบริบท ในขณะที่ก็สัมพันธ์อยู่กับบริบทอย่างเหนียวแน่น เป็นร้านกาแฟที่ปิดทึบเงียบขรึม แต่กลับสามารถส่งเสียงเรียกผ่านความเงียบได้อย่างน่าประหลาด

ความต้องการสร้างร้านกาแฟเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดิน เป็นความตั้งใจแรกของการตั้งโจทย์ให้กับพื้นที่เดิมที่เป็นป่าปลูกไม้ยมหอม ในที่ดินขนาด 10 ไร่ ณ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ความต้องการทำให้สถานที่เป็นที่รู้จักเพื่อต่อยอดทางธุรกิจ นำมาซึ่งคอนเซ็ปต์ในการออกแบบ ทำอย่างไรให้สถาปัตยกรรมที่กำลังที่จะเกิดขึ้นใหม่นี้ ถูกพูดถึงอย่างเป็นวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ก็ต้องกำเนิดขึ้นจากผืนดินอย่างมีที่มาที่ไป มีเอกลักษณ์ได้อย่างไม่ฉาบฉวย การออกแบบ ‘Yellow Submarine Coffee Tank’ ผลงานชิ้นแรกจากการรวมทีมกันของทีมนักออกแบบ ‘Secondfloor Architects’ จึงดำเนินอยู่ในแนวทางของการตีความบริบทที่มีศักยภาพสูงอยู่แล้ว ให้แตกต่างไปจากความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับสภาพแวดล้อมในแบบเดิมๆ แต่ใครเล่าจะคิดว่าเรือดำน้ำสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำขนาดมหึมา จะกลายเป็นคำตอบสุดท้ายของสิ่งที่ทุกคนในทีมสถาปนิกต่างร่วมกันค้นหา อย่างไรก็ตาม สถาปัตยกรรมสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่นี้เองนั่นล่ะ ที่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมได้ในมิติที่ไม่ได้ลดทอนคุณค่าของ สภาพบริบทเดิมลงแม้แต่น้อย กลับกัน มันได้กลายเป็นการเน้นย้ำความสำคัญของป่าปลูกไม้ยมหอมให้ยิ่งทวีคูณในรูป ประโยคของสถาปัตยกรรมที่ทำงานร่วมกันกับบริบทได้อย่างแตกต่างจากวิธีเดิมๆ อย่างชัดเจน

สถาปนิกทดลองกับบริบทของพื้นที่ด้วยเครื่องมือ 2 อย่างเพื่อเชื่อมโยงสถาปัตยกรรมเข้าหาสภาพแวดล้อมในมิติมุมมองที่แตกต่าง ด้วยความที่พื้นดินเดิมมีลักษณะเป็นที่ลาดชันตามลักษณะภูมิประเทศ สถาปนิกเลือกวางอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้แนวยาวของอาคารวิ่งขนานไปกับ ทางลาดที่ค่อยๆ สูงขึ้นของเนินเขา เช่นเดียวกับทางเดินเข้าสู่ตัวอาคารจากลานจอดรถที่ไล่ลำดับผ่านสภาพแวดล้อม ของป่าไม้ยมหอมและผืนผนังสีดำของสถาปัตยกรรม การยืดจังหวะการรับรู้ให้กับจังหวะที่ก้าวเดินก่อนที่จะเข้าถึงสถานที่ เป็นวิธีการสร้างมิติของการรับรู้ต่อบริบทแวดล้อมได้อย่างมีชั้นเชิง

อีกหนึ่งเครื่องมือการทดลองกับบริบทของสถาปนิกคือ ‘การปฏิเสธบริบท’ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในอีกรูปแบบระหว่างสถาปัตยกรรมกับสภาพแวดล้อม เป็นสมมุติฐานของสถาปนิกบนความเชื่อที่ว่า แนวความคิดดังกล่าวจะสามารถนำพาไปสู่รูปลักษณ์สุดท้ายของสถาปัตยกรรมที่ให้ ความรู้สึกกระทบกับผู้คนได้อย่างน่าสนใจ กำแพงสีดำสูงทึบตันขนาบข้างตลอดแนวยาวของอาคาร แยกพื้นที่ภายในและภายนอกร้านออกจากกันอย่างชัดเจน ภาพของอาคารเมื่อมองจากภายนอกจึงจะเห็นเป็นเพียงระนาบสีดำทางตั้งที่ทำ หน้าที่เป็นเสมือนฉากกั้นในโลกเหนือจริงให้กับทิวของต้นยมหอมที่ขึ้นแทรก ปะปนไปทั่วอาณาบริเวณทั้งด้านหน้า ด้านใน และด้านหลังระนาบสีดำสูงเด่น ในขณะเดียวกัน องค์ประกอบที่เฉือนตัดทัศนียภาพที่วางตั้งอยู่เบื้องหน้าอย่างยากที่จะละ สายตา ก็ทำหน้าที่เก็บงำเรื่องราวต่างๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ภายในไว้อย่างเงียบสงัด

ก้าวเข้าสู่ด้านใน กำแพงสูงสีดำทึบปิดกั้นการรับรู้จากรอบข้างให้เหลือเพียงเพดานธรรมชาติเหนือ ศีรษะ ที่ฉาบฉายเอาแสงและเงาจากร่มไม้ยมหอม ทับบรรยากาศของสถานที่ลงบนฉากหลังของสถาปัตยกรรมสีเข้มได้อย่างมีชีวิต ชีวา มากไปกว่านั้น การปิดกั้นสภาพแวดล้อมภายนอกด้วยระนาบทางตั้งของสถาปัตยกรรมที่ชัดเจน ยิ่งทำให้พื้นที่ภายในแสดงความเด่นชัด กลิ่นกาแฟ เสียงลมกระทบใบไม้ เสียงฝีเท้า และภาพสะท้อนของผู้คนที่แวะเวียน เติมเต็มบรรยากาศและสะกดให้เกิดภาพจำของสถานที่ได้ชัดเจนยิ่งกว่าการเปิดออก สู่บรรยากาศทั้งหมด ในขณะเดียวกัน ระนาบทางตั้งที่โอบล้อมพื้นที่ไว้อย่างจำกัด ก็เป็นการบีบมุมมองของผู้คนอย่างกลายๆ ให้แหงนขึ้นไปมองยอดไม้ในมุมมองที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก ประกอบกับแนวแกนของอาคารที่มอบการรับรู้ให้กับผู้คนเป็นเส้นตรง องค์ประกอบต่างๆ ภายในสถาปัตยกรรมที่ไม่ว่าจะเป็นกล่องอาคารสีเทาสูงสองชั้น หรือแม้แต่โต๊ะที่วิ่งยาวทะลุจากภายในอาคารเอง ก็ถูกออกแบบตามแนวแกนที่ว่า ความชัดเจนของพื้นที่ภายในสถาปัตยกรรมดังกล่าวจึงกลายเป็นเสน่ห์ของการปิดล้อม ที่อาคารในขนาดพื้นที่เพียง 110 ตารางเมตร ก็สามารถเชื่อมผู้คนกับบริบทเข้าหากันได้อย่างน่าจดจำ

การปฏิเสธบริบท อีกนัยหนึ่งก็เป็นการปฏิสัมพันธ์กับบริบทโดยอ้อม สิ่งที่สถาปนิกทิ้งไว้ให้กับการศึกษาสถาปัตยกรรมทั้งในโรงเรียนสอน สถาปัตยกรรมก็ดี หรือแม้แต่ในการทำงาน ‘เข้ากับบริบท’ ที่เป็นสิ่งที่พูดกันอยู่เสมอในการออกแบบสถาปัตยกรรมก็ดี คือประเด็นคำถามต่อมิติของความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมและบริบทที่ตั้ง ที่เพียงเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งแวดล้อมที่กระทบอยู่รอบตัวเราเสียใหม่ สถาปัตยกรรมก็อาจทำงานร่วมกับบริบทที่ว่าได้ในอีกหลากหลายมิติ และอาจได้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งกว่าการเข้าหาบริบทในมิติเดิมๆ ก็เป็นได้

Yellow Submarine Coffee Tank เป็นสถาปัตยกรรมที่ตั้งใจที่จะสร้างให้ ‘ไม่เข้ากัน’ กับบริบท ในขณะที่ก็สัมพันธ์อยู่กับบริบทอย่างเหนียวแน่น เป็นร้านกาแฟที่ปิดทึบเงียบขรึม แต่กลับสามารถส่งเสียงเรียกผ่านความเงียบได้อย่างน่าประหลาด

00ลำดับการเข้าถึงอาคาร ที่สถาปนิกออกแบบให้ผู้ที่มาเยือน ต้องเดินผ่านทางลาดที่ทอดยาวผ่านทิวไม้และกำแพงสีดำก่อนที่จะพบกับทางเข้า สู้พื้นที่ภายในที่ปลายทาง สร้างความรับรู้ผ่านการประวิงเวลาและการให้ผู้มาเยือนได้สำรวจตรวจตราเพื่อ ทำความเข้าใจบริบทรอบตัวก่อนเข้าสู่การใช้งานในลำดับถัดไป

15เมื่อมองจากภายนอกภาพระนาบสีดำสนิทขนาดใหญ่วางตั้งขนาน และคาบเกี่ยวไปกับพื้นดินที่ไม่เรียบเป็นเส้นตรง แต่ค่อยๆ สูงขึ้นตามสภาพภูมิประเทศของเนินเขา ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่นักออกแบบต้องการให้สถาปัตยกรรมของพวกเขา สื่อสารการปฏิเสธบริบทโดยรอบอย่างจงใจ การเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมสี่เหลี่ยมทึบตันจึงดูเหนือจริงราวกับการนำเอา วัตถุที่ไม่ได่ยึดโยงใดๆ กับสถานที่เลยมาวางไว้อย่างจงใจ

02เบื้องหลังกำแพงสีดำ พื้นที่ใช้งานถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน โดยมีกล่องอาคารสีเทาตั้งอยู่ตรงกลาง เชื่อมโยงพื้นที่นั่งทานกาแฟภายนอกทั้งสองฝั่งด้วยทางเดินกรวดแคบๆ ระหว่างกำแพงสีดำและกล่องอาคารหลัก ขับเน้นให้การใช้งานในกล่องอาคารสีเทาเหมือนถูกโอบล้อมซ้ำแล้วซ้ำอีก

01บรรยากาศภายในกล่องอาคารสีเทาที่มีความสูงสองราวตึกชั้น สถาปนิกเปิดระนาบข้างด้านข้างไว้เพียงครึ่งหนึ่ง ระนาบด้านบนที่เหลือปิดทึบ สร้างความสนเท่ห์ให้กับการแยกพื้นที่ใช้งานออกจากกันที่เบาบางแต่ก็ชัดเจนไป ในขณะเดียวกัน ด้วยพื้นที่ที่เป็นแบบกึ่งกลางแจ้ง ผู้ที่นั่งอยู่ภายในจึงยังสามารถรับรู้บริบทของป่าไม้ยมหอมได้ผ่านกลิ่น อากาศ เสียงพลิ้วไหวของใบไม้ และแสงของช่วงวันที่เล็ดลอดผ่านช่องอิฐที่ถูกเว้นไว้บนระนาบด้านข้างที่อยู่สูงขึ้นไป

24แสงของช่วงวันที่เล็ดลอดผ่านช่องอิฐที่ถูกเว้นไว้บนระนาบด้านข้าง

22
แม้แต่โต๊ะที่วิ่งยาวทะลุจากภายในอาคารเอง ก็ถูกออกแบบตามแนวแกนของอาคารที่มอบการรับรู้ให้กับผู้คนเป็นเส้นตรง

12
Kitchen

06
ระนาบทางตั้งที่โอบล้อมพื้นที่ไว้อย่างจำกัด ก็เป็นการบีบมุมมองของผู้คนอย่างกลายๆ ให้แหงนขึ้นไปมองยอดไม้ในมุมมองที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก
    11ส่วนนั่งพักผ่อนภายนอกถูกปูด้วยพื้น กรวดและผนังกระเบื้องสีดำเงา สะท้อนภาพต้นยมหอมที่ยังคงหลงเหลือและบรรยากาศที่อบอวล ยิ่งสร้างความแปลกแยกให้กับกำแพงสีดำที่เสมือนเป็นวัตถุแปลกหน้ากั้นพื้นที่ ของเหล่าต้นไม้ออกจากกันอย่างแข็งทื่อ ในขณะเดียวกัน ต้นยมหอมที่สถาปัตยกรรมยินยอมให้ยังคงหลงเหลืออยู่ด้านในนี้ กลับสร้างความรับรู้ต่อบริบทภายนอกให้กับผู้ใช้งานได้อย่างน่าประหลาด

10
ส่วนนั่งพักผ่อนภายนอกถูกปูด้วยพื้น กรวดและผนังกระเบื้องสีดำเงา สะท้อนภาพต้นยมหอมที่ยังคงหลงเหลือและบรรยากาศที่อบอวล ยิ่งสร้างความแปลกแยกให้กับกำแพงสีดำที่เสมือนเป็นวัตถุแปลกหน้ากั้นพื้นที่ ของเหล่าต้นไม้ออกจากกันอย่างแข็งทื่อ ในขณะเดียวกัน ต้นยมหอมที่สถาปัตยกรรมยินยอมให้ยังคงหลงเหลืออยู่ด้านในนี้ กลับสร้างความรับรู้ต่อบริบทภายนอกให้กับผู้ใช้งานได้อย่างน่าประหลาด

14
Bathroom

07Coffee Room

28Coffee Outdoor

33สถาปัตยกรรมที่ตั้งใจที่จะสร้างให้ ‘ไม่เข้ากัน’ กับบริบท ในขณะที่ก็สัมพันธ์อยู่กับบริบทอย่างเหนียวแน่น เป็นร้านกาแฟที่ปิดทึบเงียบขรึม แต่กลับสามารถส่งเสียงเรียกผ่านความเงียบได้อย่างน่าประหลาด

30สถาปัตยกรรมที่ตั้งใจที่จะสร้างให้ ‘ไม่เข้ากัน’ กับบริบท ในขณะที่ก็สัมพันธ์อยู่กับบริบทอย่างเหนียวแน่น เป็นร้านกาแฟที่ปิดทึบเงียบขรึม แต่กลับสามารถส่งเสียงเรียกผ่านความเงียบได้อย่างน่าประหลาด

Leave A Comment