Y-BOX PAVILION, 21st C. CAVE

B

ถ้ำแห่งศตวรรษที่ 21 ‘Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave’
จากเทคโนโลยี 3D Printing ร่วมกับนวัตกรรมปูนซีเมนต์

SCG Building Tech ต่อยอดนวัตกรรมปูนซีเมนต์ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ โดยจับมือกับ ปิตุพงษ์ เชาวกุล เปิดตัว ‘ถ้ำแห่งศตวรรษที่ 21’ หรือ Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave ต้นแบบสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัยแห่งอนาคตที่มีขนาดสูงกว่า 3 เมตร ที่สร้างจากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) ร่วมกับนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างปูนซีเมนต์เอสซีจีสูตรพิเศษผสมผสาน 2 เทคนิคพิเศษอย่าง Powder-bed Inkjet Head Printing และ Extrusion Printing เข้าด้วยกันเพื่อถ่ายทอดแนวคิด ‘นวัตกรรมแห่งอนาคต’ จนได้สถาปัตยกรรมที่ขยายขอบความเป็นไปได้และช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ก้าวข้ามข้อจำกัดการก่อสร้างรูปแบบเดิมๆ เติมเต็มจินตนาการของนักออกแบบ ตอบโจทย์การสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นจริงพบกับผลงานแห่งอนาคตชิ้นล่าสุดนี้ได้ในงานสถาปนิก 59 ระหว่างวันที่ 26 เมษายน-1พฤษภาคม 2559 ณ อาคารชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี

Cผลงาน “Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave” ในบรรยากาศต่างๆ

3D Printing เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เอสซีจีนำมาพัฒนาให้มีระบบปฏิบัติการเฉพาะของเอสซีจี รวมทั้งคิดค้นและพัฒนาเพื่อใช้กับการก่อสร้าง มีวัสดุหลักคือปูนซีเมนต์ ซึ่งเอสซีจีใช้เวลากว่า 2 ปีในการทดลองและพัฒนาศักยภาพของ Cement Material ให้ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวมันเองเรื่อยมา โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ของการใช้งาน เทคโนโลยีการก่อสร้าง และยังคงให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อต้นปี 2015 เอสซีจีได้ร่วมมือในระดับสากลกับ UC Berkley สร้างสรรค์ผลงาน “Bloom: The Room for Living” ในช่วงปลายปี 2015 เอสซีจีได้เปิดตัว 2 ผลงานที่มีชื่อว่า “Helix: The Family Cocoon” และ “Corolla: 3D Breathable Façade” ในปีนี้ 2016 เอสซีจีได้เชิญนักออกแบบชื่อดังที่เคยมีผลงานร่วมกันมาหลายครั้ง คุณแจ๊ค ปิตุพงษ์ เชาวกุล ในนามบริษัท Supermachine Studio ซึ่งมีความสนใจในเทคโนโลยี 3D Printing มาร่วมโปรเจคในการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน ถ่ายทอดจินตนาการภายใต้คอนเซ็ปต์ “Innovation for Tomorrow Living”

Dโบสถ์ “SagradaFamilia” ออกแบบโดย Antoni Gaudi

คุณแจ๊ค ปิตุพงษ์ เชาวกุล สร้างสรรค์ผลงานที่ชื่อว่า “Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave” ต้นแบบสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัยในอนาคต ขนาด 3x6x3 เมตร ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการผสมผสาน 2 สถาปัตยกรรมที่เป็นงาน Masterpiece ระดับโลกเข้าด้วยกันคือ “SagradaFamilia cathedral” เมืองบาร์เซโลนา ที่ออกแบบโดย Antoni Gaudi สถาปนิกที่มีชื่อเสียงเรื่องการก่อสร้าง Unique Form ให้เป็นจริง กับผลงาน “Casa Farnsworth” สถาปัตยกรรม Modernism แห่งศตวรรษที่ 20 ที่ออกแบบโดย Ludwig Mies Van Der Roheผู้ริเริ่มแนวคิด “less is more” และ “God is in the details”

Eบ้าน “Casa Farnsworth” ออกแบบโดย Ludwig Mies van der Rohe

“Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave” หรือถ้ำในศตวรรษที่ 21 คือที่กำบังแดดฝนที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้มีประโยชน์ใช้สอยอย่างเฉพาะเจาะจง แต่สามารถเลือกใช้งานตามจินตนาการเหมือนถ้ำในอดีตที่เคยเป็น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบของรูปทรงที่ท้าทายการก่อสร้างแบบเดิมๆ เช่น โครงสร้างเสาความสูง 3 เมตร รูปทรงอิสระที่ไม่ซ้ำกัน 6 ต้น เสมือนแง่งหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบิดตัวกันขึ้นไปรองรับหลังคา โดยเสาเหล่านี้พยายามทำหน้าที่เป็นกำแพงกำหนดขอบเขตของสเปซในเวลาเดียวกัน เพิ่มความสมบูรณ์และสวยงามด้วยโคมไฟ A Unique Lamp โครงสร้างทรงกลมแบบ Geodesic Dome ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 70 เซนติเมตร ประกอบกันด้วยโครงสร้างรูปสามเหลี่ยม (Triangle Frames) ทั้งหมด 180 ชิ้น ที่ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นถูกออกแบบรายละเอียดและจุดเชื่อมต่อทั้งหมดในคอมพิวเตอร์ เกิดลวดลายจากแสงตกกระทบที่สวยงาม

Fโครงสร้างเสาทั้ง 6 ต้น แต่ละต้นมีรายละเอียดและการบิดตัวไปมาแตกต่างกัน

Gด้านข้างของ Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave

องค์ประกอบทั้งหมดของ Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave นี้ ก่อสร้างขึ้นจากเทคโนโลยี 3D Printing ร่วมกับนวัตกรรมปูนซีเมนต์เอสซีจีสูตรพิเศษ (Innovative Cement Formulation) โดยผสมผสานสองเทคโนโลยี คือ Extrusion Printing และ Powder-bed inkjet head printing เข้าด้วยกัน โดยเน้นกำลังอัดที่แข็งแรงเช่นเดิม ที่เพิ่มเติมคือสามารถสร้างสรรค์รูปทรงได้อย่างอิสระโดยยังคงความแข็งแรงด้วย Bio fiber ชนิดพิเศษที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของเอสซีจี ช่วยเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะของเนื้อปูนหลังเกิดการแตกหักได้ อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถในการสร้างรูปทรงที่มีความลาดชันสูงๆ ได้ดี โดยไม่ต้องพึ่งวัสดุรองรับ (Support Material) เพราะมีความแข็งแรงมากพอที่จะใช้เป็นโครงสร้างด้วยตัวมันเองได้ นอกเหนือจากนี้การออกแบบ Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave ยังได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างและความแข็งแรงปลอดภัยตามขั้นตอนทางวิศวกรรมจึงมั่นใจได้ในเรื่องความแข็งแรงและปลอดภัย

Hบรรยากาศการใช้งานจริงที่ “Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave”

เมื่อเทคโนโลยี 3D Printing ถูกคิดค้นและพัฒนาจวบจนที่สามารถเอาไปประยุกต์ใช้และตอบโจทย์ในวงการออกแบบก่อสร้างได้และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การก่อสร้างก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด และเชื่อว่าจะมีสถาปัตยกรรมแนวใหม่จากนักออกแบบที่ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ ออกมาให้เราได้เห็นกันอีกมากมาย จนบางครั้งอาจล้ำเกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้

สัมผัสกับนวัตกรรม 3D printing ที่บูธ SCG ในงานสถาปนิก’59 อาคารชาแลนเจอร์ฮอล์ 1-3 อิมแพค เมืองทองธานี วันที่ 26 เม.ย. – 1 พ.ค. เวลา 11.00 – 21.00 น.

 

 

 

 

 

Leave A Comment