TATE MODERN

00-exterior-tatemodern

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มหานครลอนดอนกลับมาเป็นผู้นำของศิลปะร่วมสมัยในอีกหลายสิบปีข้างหน้า

Text: FATT
Photo: สุพรรณา จันทร์เพ็ญศรี, วัทธิกร โกศลกิตย์

ใน ปี 2000 โรงไฟฟ้า Bankside ได้ถูกปรับปรุงและออกแบบใหม่โดย Hezog&De Muron สองสถาปนิกชาวสวิสเซอร์แลนด์ และถูกเปิดใช้ในนาม ‘Tate Modern’ หลังจากเปิดใช้ได้ 16 ปี Tate Modern ต้อนรับผู้เข้าชมเฉลี่ยเกือบ 5 ล้านคนต่อปี กลายเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน และในฤดูใบไม้ผลินี้เอง Tate Modern ได้เปิดส่วนต่อขยายใหม่ในชื่อว่า ‘Tate Modern Switch House’ ซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มหานครนี้กลับมาเป็นผู้นำของศิลปะร่วม สมัยในอีกหลายสิบปีข้างหน้า

01-plaza-tatemodernPlaza Tate Modern

Tate Modern Switch House ตั้งอยู่หลังอาคารเดิมใช้งบก่อสร้าง 260 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้น 45 ล้านปอนด์ จากงบที่ตั้งในปี 2012 ออกแบบโดย Herzog เจ้าเก่า รอบๆ อาคารประกอบด้วย Plaza ทั้งสองฟากฝั่งถนนคือ Holland St และ Sumner St ในส่วนของถนน Sumner St นั้นมี Plaza รูปวงกลมเปิดทางเข้าของ Switch House และสวนหย่อมน่ารักๆ ไปตลอดถนนจนสุดขอบเขตของอาคาร Switch House มี Façade หรือเปลือกอาคารเป็นอิฐ แต่ไม่ใช่อิฐธรรมดาแน่นอน ดูจากรูปในสื่ออาจจะคิดว่าเล่นง่ายไปรึป่าว? ก่ออิฐเหมือนอาคารเดิมเหรอ? แต่มันไม่ใช่อย่างนั้น ระดับ Herzog แล้วมันต้องไม่ธรรมดา รวมถึงเหตุผลสำคัญที่ทำให้อาคารหลังนี้ใช้เวลาสร้างนาน หรืออาจจะเรียกว่านานกว่าปกติ

โดยทั่วไปแล้วการไป Tate Modern เราจะต้องข้ามแม่น้ำ Thames โดยข้ามสะพาน Millennium Bridge มายังอีกฝั่งหนึ่ง ผ่านลานหน้าอาคาร ก็จะเข้าสู่อาคารชั้นแรก หากเดินทะลุ Tate Modern ตรงออกไปจะเจอกับ Plaza ของ Switch House ในวันที่มีฝนโปรยปรายขอแนะนำว่าให้ลงไปที่ชั้นใต้ดิน เพราะในชั้นนี้จะเชื่อมต่ออาคารเก่าและใหม่ โดยไม่ต้องออกไปด้านนอกเราเรียกส่วนนั้นว่า TANK หรือสำหรับท่านที่เพิ่งจะเคยมา Tate Modern เป็นครั้งแรกก็สามารถชมงานศิลปะที่อาคารเดิมจนถึงชั้นบนสุด ที่เรียกว่า Boiler House ก็สามารถเดินต่อไปยังทางเชื่อมสู่ Switch House ได้อีกเช่นกัน 

02-link-fl0-tatemodern
ทางเชื่อมอาคารชั้นแรก หากเดินทะลุ Tate Modern ตรงออกไป
จะเจอกับ Plaza ของ Switch House

03-link-fl1-tatemodern
ทางเชื่อมอาคารชั้น 1

วิธีการเยี่ยมชมสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา หรือจิตศรัทธาในศิลปะไม่มากนัก เราแนะนำให้ท่านเข้ามาแล้วบริจาคเงินก่อน 4 ปอนด์ (Tate Modern ไม่เก็บค่าเข้า ดังนั้นควรจะบริจาคอย่างจริงจัง) พอเดินลงไปที่ชั้นใต้ดินและเดินเข้าสู่ส่วนที่เรียกว่า Tank สามารถรอขึ้นลิฟต์เพื่อขึ้นสู่ชั้นบนสุดของ Switch House ซึ่งในวันหยุดผู้เข้าชมจะเยอะเป็นพิเศษ แนะนำให้ไปวันเสาร์ซึ่ง Tate จะเปิดถึงสี่ทุ่ม (เมื่อย่างเข้าฤดูหนาวแนะนำให้ตรวจสอบเวลาเปิดปิดอีกครั้ง) ช่วงค่ำๆ คนจะน้อยกว่าช่วงบ่ายจึงขอแนะนำ

เมื่อขึ้นไปแล้วใช้เวลาชื่นชมกับวิว Panorama ซึ่งถือว่าเป็นจุดชมวิวแห่งใหม่ของลอนดอนเลยทีเดียว หลังจากชักภาพวิวของเมือง หรือเซลฟี่กันอย่างสนุกจุใจแล้วจึงค่อยๆ เดินลงมาจากชั้นบนสุดไล่ลงมาทีละชั้นๆ ในระหว่างทางลงมาจะมีร้านอาหารที่สามารถจะเข้าไปพักเติมพลังก่อนที่จะเข้าชม งานศิลปะก็ดูเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยและคิดว่าจะไม่เข้าไปชมห้องจัดแสดงที่เริ่มที่ชั้น 4 จนถึงชั้นใต้ดิน ก็สามารถเดินเรื่อยๆ ชมโถงของแต่ละชั้นเรื่อยมา หรือจะพักนั่งเล่นที่โถงชั้นสองที่เตรียมที่นั่งไว้ให้พอสมควร หากในวันที่ฟ้าเปิดอากาศแจ่มใส จะมีแสงแดดเร้นรอดเข้ามาตามผนังอิฐที่เรียงตัวเป็น Pattern สวยงามเพิ่มบรรยากาศในการเข้าชมยิ่งขึ้น และยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาคารหลังนี้อีกเช่นกัน

04-link-fl4-tatemodern
ทางเชื่อมอาคารชั้น 4

05-tank-tatemodern

06-tank-tatemodernบริเวณชั้นใต้ดินและส่วนทางเดินเข้าสู่ Tank เชื่อมต่ออาคารเก่าและใหม่
ที่สามารถรอขึ้นลิฟต์เพื่อขึ้นสู่ชั้นบนสุดของ Switch House

ในขณะที่ Tate modern คือการเปิดเผยโครงสร้างพื้นฐานของอาคารเดิม Switch House คือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ให้กับโครงการกล่าวโดย Ascan Mergenthaler สถาปนิกอาวุโส ของ Hezog&De muron สิ่งที่เราเห็นจากการเดินเยี่ยมชมทั้งสองอาคารแล้วนั้น ก็จะเห็นความแตกต่างอย่างที่ผู้ออกแบบได้กล่าวไว้ Switch House ดูเหมือนจะถูกบรรจุพื้นที่แสดงงาน หรือแม้แต่พื้นที่สนับสนุนการจัดแสดงงานของทั้งโครงการ ยกตัวอย่างเช่นสำนักงาน แต่ในทางกลับกันอาคารเดิมนั้นก็บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาสมัยที่ยังเป็น โรงไฟฟ้าพร้อมกับการกลายเป็นพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะร่วมสมัยในเวลาเดียวกัน

ในรายละเอียดนั้นพื้นที่สาธารณะ หรือโถงอาคารทั้งสองอาคาร ก็แยกขาดออกจากกัน แต่ถูกเชื่อมต่อกันด้วย Turbine Hall ซึ่งเมื่อ Switch House เปิดใช้แล้วนั้น โถงตามยาวและสูงนั้นดูท่าจะสมบูรณ์แบบขึ้นทุกที เมื่อมีผู้คนเดินผ่าน รวมไปถึงพื้นที่การใช้งานเดิม ที่ใช้เป็นที่จัด Installation ก็ยังคงอยู่ ซึ่งแต่เดิมนั้นก็เรียกว่าดีมากแล้วในการ เปลี่ยนจาก Turbine Hall เป็นทางเดินเข้าจากฝั่ง South Bank แล้วเข้าสู่ชั้นใต้ดิน ก็ยิ่งยืนยันประโยคข้างต้นของ Ascan Mergenthaler ได้เป็นอย่างดีในแง่ที่ว่าการเกิดขึ้นของ Switch House สนับสนุนให้พื้นที่อาคารเก่าในแต่ละส่วนนั้นสมบูรณ์ขึ้นในทุกๆ ทางความคุ้มค่าของการชมตึกนี้สำหรับนักเรียนนักออกแบบหรือแม้แต่คนทั่วไปก็ควรอย่างยิ่งสำหรับการเข้าชมยิ่งสมัยนี้ Tate Modern ได้ถูกบรรจุในหนังสือนำเที่ยวชื่อดังในบ้านเราแล้ว ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่คุณจะปฏิเสธสถานที่แห่งนี้ นอกจากนั้นผู้เขียนขอยืนยันว่า Herzog คือหนึ่งในสถาปนิกที่มีชีวิตอยู่ และไม่เคยทำให้การหยอดกระปุกเก็บเงินในกล่องใบน้อยนั้นต้องผิดหวัง เจียดเวลาอ่านบทความของอาคารหลังนี้สักนิดหนึ่ง และทำความเข้าใจสักเล็กน้อย เก็บกระเป๋าขึ้นเครื่อง เพราะคุณจะเป็นส่วนหนึ่งที่ได้มีประสบการณ์ร่วมในการตอกย้ำความเป็นผู้นำทาง ศิลปะร่วมสมัยของเมืองนี้จากคู่แข่งที่อยู่อีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก

07-hall-fl2-tatemodernโถงบันไดทางขึ้น Switch House ชั้น 2

08-void-fl2-tatemodern 09-stair-void-tatemodernสองมุมมองจาก Void บนชั้น 2

11-deck-view-tatemodern 10-hall-fl10-tatemodernชั้นบนสุดของ Switch House จุดชมวิว Panorama
ซึ่งถือว่าเป็นจุดชมวิวแห่งใหม่ของลอนดอนเลยทีเดียว

TIPS: คุณรู้หรือไม่ว่า ก่อนจะกลายมาเป็น Tate Modern นั้น โรงไฟฟ้าถ่านหิน Bankside ถูกทิ้งร้าง มานานเกือบ 20 ปี ทำให้นึกถึงโครงการปรับปรุงอาคารไปรษณีย์กลางบางรัก ว่าอีกไม่นานคงแล้วเสร็จ และให้ผู้คนได้ใช้ประโยชน์เหมือนที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้กลับมารับใช้ชาว ลอนดอนอีกครั้ง

วิธีการไป Tate Modern ที่ดูจะง่ายที่สุดคือ การนั่งรถไฟฟ้าสาย Central Line (สายสีแดง) ไปลงที่สถานี St. Paul และเดินอ้อมมหาวิหารเซนต์พอลไปจะเห็นสะพาน Millennium Bridge ที่ออกแบบโดย ท่านเซอร์ นอแมนฟอสเตอร์ เพื่อข้ามไปยัง โรงไฟฟ้าเก่าที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำเทมส์ ช้อปปิ้งที่ SOHO เสร็จก็สามารถจับรถไฟใต้ดินได้อย่างรวดเร็ว

Leave A Comment