STEP HOUSE

02

ค่อยก้าวทีละขั้นในบ้านต่างระดับ

Text: นวภัทร ดัสดุลย์
Photo: ฉัตรชัย เจริญพุฒ, พุทธิพงศ์ ศรีสุวรรณ
Architect: คุณจีรวิช ไทยปรีชา และคุณศจี วิสารทศจี
จากคอลัมน์ Living Space, Daybeds 162 ฉบับเดือนมีนาคม 2559

แรกพบบ้านพักตากอากาศหลังนี้ในมุมมองจากระยะไกล เราสังเกตเห็นว่าอาคารมีลักษณะคล้ายกับกล่องสี่เหลี่ยมที่ถูกสถาปนิกจัดวางเหลื่อมล้ำซ้อนทับกันอย่างจงใจ ขยับเข้ามาใกล้อีกนิด ภาพของสถาปัตยกรรมรูปทรงทันสมัยที่พาดลงบนเนินดินต่างระดับอย่างมีนัยยิ่งเด่นชัดขึ้น บ้านพักตากอากาศหลังนี้มีลักษณะคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมหลายใบถูกจัดวางให้เกิดการซ้อนทับและเลื่อมล้ำกันอย่างจงใจดังว่าจริง เหตุเพราะบนเนื้อที่ขนาด 2 ไร่ ภายในหมู่บ้าน Windy Hill ใจกลางเขาใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบสูง ความลาดชันของที่ดินจึงผันแปรตามภูมิประเทศที่เป็นเนินต่างระดับสลับกันไปนั่นเอง
เราค่อยๆ เดินก้าวขึ้นเนินไปทีละขั้นจากบนถนนเข้าสู่ชานกว้างของตัวบ้านซึ่งอยู่ติดกับห้องครัว จุดที่สามารถมองเห็นบริบทของเขาใหญ่ได้ไกลสุดตา โดยมี คุณทอยธนะวัต อุดมศาสตร์พร และ คุณจ๋อมธิษณา วาริพันธน์ เจ้าของบ้านเปิดประตูต้อนรับอย่างอบอุ่นเป็นกันเอง

เชื่อว่าหากใครเคยมีโอกาสมาสัมผัสธรรมชาติที่เขาใหญ่ด้วยตัวเองน่าจะเข้าใจดี มีน้อยคนนักจะไม่ตกหลุมรักการปลีกวิเวกจากเมืองป่าคอนกรีตมาซบไหล่ไออุ่นของขุนเขา สูดอากาศบริสุทธิ์เข้าปอดวันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ เจ้าของบ้านหลังนี้เองก็เช่นกัน “เด็กๆ ผมได้มีโอกาสมาตีกอล์ฟ มาพักบ้านเพื่อนที่เขาใหญ่ ก็ชอบบรรยากาศแบบนี้ตั้งแต่ 7-8 ขวบ” คุณทอยเท้าความ “เหมือนเป็นความฝันว่าอยากจะปลูกบ้านที่นี่แทนที่จะซื้อบ้านกรุงเทพฯ พอโตมาก็เลยติดสินใจว่ากรุงเทพจะอยู่คอนโด แล้วมาปลูกบ้านต่างจังหวัดไปเลยในโซนที่ผมชอบ สองปีที่แล้วจึงเริ่มทำแบบ ผมรู้จักรุ่นพี่คนหนึ่งตอนไปเรียนญี่ปุ่น พอกลับมาเมืองไทยก็วานให้เขาช่วยดีไซน์”  

บ้านหลังนี้ใช้สถาปนิก 2 คนช่วยกันออกแบบ คนแรกคือ คุณจีรวิช ไทยปรีชา ซึ่งช่วยขึ้นคอนเซ็ปต์ในตอนต้น เสริมด้วยคุณศจี วิสารทศจี ที่มาช่วยสานต่อการทำงานหลังจากคุณจีรวิชติดธุระส่วนตัว “สถาปนิกคนแรกดูแลทำคอนเซ็ปต์บ้านอย่างดี เป็นรุ่นพี่ที่สนิทกันเลย ชื่อพี่จีรวิช ไทยปรีชา พี่เขาได้ทุนไปเรียนที่ญี่ปุ่น” คุณทอยเล่าต่อ “อีกคนหนึ่งมาตอนเขียนคอนเซ็ปต์บ้านเสร็จ เหมือนตอนนั้นเขาค่อนข้างยุ่งด้วย เขาก็เลยพาเพื่อนมาเขียนตัวดีเทล เขียนแบบมาเพื่อที่จะก่อสร้างจริงๆ อีกทีหนึ่ง ก็เลยมีสองคนที่ช่วยเขียนบ้านหลังนี้ขึ้น แต่อย่างงานทุกอย่างผมก็แชร์ไอเดียระหว่างสถาปนิก ผมเป็นคนชอบสไตล์เหล็กกับไม้ให้มันอยู่ด้วยกัน เป็นคนชอบไม้ในระดับหนึ่งเลย จะเห็นดีเทลว่าใช้ไม้ผสมกับเหล็กดำ ซึ่งมันก็เป็นสไตล์ที่ผมมองมาตั้งแต่แรก แล้วด้วยความที่สถาปนิกเขาก็ชอบสไตล์เดียวกันอยู่แล้ว”

แปลนบ้านหลังนี้มีลักษณะคล้ายตัวแอล (L) วางตัวขนานกับถนนหลักของหมู่บ้าน หันหน้าบ้านออกไปทางทิศเหนือเพื่อสอดรับกับทิศทางลม ส่วนฝั่งใต้มีอาคารยื่นยาวไปเกือบจรดบริเวณปลายสุดของเนินดินซึ่งลาดลึกลงไปอีกเกือบ 3 เมตร บ้านเน้นโทนสีขาวอบอุ่นละมุนสายตา มีเหล็ก คอนกรีต และไม้ เป็นสามตัวละครหลัก โดยมีอะลูมิเนียม กระจก และหิน เป็นตัวประกอบ ช่วยกันดำเนินเรื่องให้บ้านมีฉากจบบริบูรณ์ เหล็กไอบีม (I-Beam) ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักของอาคาร คอนกรีตเป็นผนังอาคารคอยปกป้องคุ้มภัย และไม้เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเบรกไม่ให้บ้านดูแข็งกระด้างจนเกินไป ส่วนประตูและหน้าต่างบานเลื่อนเลือกใช้อะลูมิเนียมสำเร็จรูป YKK AP ที่มีคุณภาพสูงทั้งหมด สามารถเลื่อนเปิดรับแสงและลมธรรมชาติจากภายนอกให้ผ่านเข้าสู่ภายในได้อย่างอิสระ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บ้านหลังนี้เย็นสบายโดยไม่ต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศ สว่างโดยไม่ต้องพึ่งกระแสไฟฟ้าให้เปลืองพลังงานในเวลากลางวัน

คุณทอยบอกว่าแท้จริงแล้วแบบในตอนแรกไม่ได้เป็นรูปตัวแอลด้วยซ้ำไป แต่เป็นเหมือนบูมเมอแรง ทว่าพอมาเขียนดีเทลแล้วติดปัญหาเรื่องพื้นที่และต่างๆ นานา จึงปรับเป็นตัวแอลอย่างในปัจจุบัน วางตัวกินพื้นที่ 1 ไร่ จรดที่ดินเปล่าข้างเคียงจึงต้องซื้อเพิ่มเพื่อปกป้องทัศนียภาพที่สวยงามให้กับบ้านตัวเองต่อไป “จริงๆ เป็นที่ดินแปลงละไร่ ผมซื้อที่ดินตรงนี้แปลงเดียวก่อนแล้ว พอสร้างได้ประมาณ 60% แล้วก็เห็นว่า เฮ้ย ! ถ้ามีคนมาสร้างตรงนี้แล้วมันทึบแน่นอน เลยตัดสินใจยอมซื้ออีกแปลงหนึ่ง ซึ่งที่ดินเดิมคือสเต็ปแบบนี้เลย เราสร้างบ้านล้อไปตามที่ดิน ตรงนี้ (บริเวณห้องครัว) มันสูงกว่าถนนร่วม 2 สองเมตร ก็เลยค่อยๆ เป็นสเต็ปไล่ขึ้นมา ตรงนู้น (บริเวณห้องนั่งเล่น) ก็ไล่ลงไปอีก มันต่ำลงไป 3 สามเมตร ปลายที่ดินมันกลายเป็นผาลงไป บ้านจึงเหมือนมันยื่นๆ ออกมา”

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า บ้านรูปตัวแอลหลังนี้แบ่งออกเป็น 2 ชั้นครึ่ง ซึ่งเกิดจากการวางตัวอาคารให้ล้อไปกับความลาดชันของเนินดินจนคล้ายกับว่า บ้านมีความเหลื่อมล้ำต่างกันอยู่ 6ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 จากโรงจอดรถบริเวณส่วนหัวของตัวแอล และห้องนั่งเล่นบริเวณปลายสุดของตัวแอลที่อยู่ในระดับเดียวกับถนน ถูกยกสเต็ปขึ้นไปยังระดับที่ 2 คือในส่วนของห้องน้ำบริเวณที่เชื่อมระหว่างห้องครัวกับโรงจอดรถ และระดับที่ 3 คือในส่วนของห้องครัวซึ่งเชื่อมกับชานกว้างที่เปรียบเสมือนชั้น 1 ครึ่ง หรือชั้นลอยของบ้าน ถัดจากห้องครัวสู่โถงบันไดหลักยกสเต็ปขึ้นไปยังระดับที่ 4 คือห้องนอนใหญ่ของคุณทอยบนชั้น 2 (ฝั่งห้องนั่งเล่น) ซึ่งจากชั้นนี้เองยังสามารถแยกออกเป็นสองทาง คือขึ้นบันไดไปยังระดับที่ 5 สู่ในส่วนของห้องนอนใหญ่ของคุณพ่อและคุณแม่บนชั้น 2 (ฝั่งห้องครัว) และระดับที่ 6 คือชั้นดาดฟ้าด้านบนสุดของห้องนอนของคุณทอย (ฝั่งห้องนั่งเล่น) ทั้งหมดที่กล่าวมาสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับบ้านจนเจ้าของบ้านยังแอบกระซิบกับเราว่าบางคนอาจจะไม่ชอบที่ต้องเดินขึ้นเดินลง 

“จะไปเข้าห้องน้ำทีต้องเดินขึ้นลง มันจะแปลกตรงนี้นิดหนึ่ง” คุณทอยทิ้งท้ายด้วยเสียงหัวเราะ

“ผมเป็นคนชอบสไตล์เหล็กกับไม้ให้มันอยู่ด้วยกัน เป็นคนชอบไม้ในระดับหนึ่งเลย”

ธนะวัต อุดมศาสตร์พร

01 บ้านลักษณะตัวแอล (L) วางตัวขนานกับถนนหลักของหมู่บ้าน และล้อไปกับความลาดชันของเนินดิน 

02.2บ้านหลังนี้เสมือนมีโรงจอดรถ และส่วนห้องครัวที่ขนานไปกับถนนของหมู่บ้านทำหน้าที่เป็นกำแพงปิดล้อมพื้นที่การใช้งานอยู่ภายใน โดยเฉพาะห้องนั่งเล่นชั้นล่างบริเวณปลายสุดของตัวแอลนั้น สามารถเลื่อนประตูเพื่อเปิดรับธรรมชาติและบรรยากาศภายนอกจากลานหญ้าโล่งกว้าง มอบความเป็นส่วนตัวให้กับสมาชิกภายในครอบครัวได้ดี แม้อยู่ท่ามกลางงานภูมิสถาปัตยกรรมที่เรียบโล่งก็ตาม 

03
บริเวณถังเก็บน้ำและระบบประปาในบ้านเลือกก่อผนังแบบ Gabion Walls หรือกล่องหินลวดตะแกรงเหล็ก ช่วยขโมยความน่าสนใจให้ผนังบ้านในมุมที่ไม่ได้เป็นไฮไลท์หลักได้ดีไม่น้อยทีเดียว 

04รถสปอร์ตคันงาม Nissan Fairlady Z สีบรอนซ์เงินของคุณทอย จอดอยู่ภายในโรงจอดรถแบบปิดที่ควบคุมการเปิดและปิดด้วยระบบอัตโนมัติ ภายในเน้นเพดานสูงโปร่งเพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัด เติมความดิบเท่ด้วยการฉาบผนังและเทพื้นปูนเปลือยตัดกับเหล็กสีดำ ขณะที่แสงธรรมชาติลอดผ่านช่องหน้าต่างช่วยมอบความรู้สึกโปร่งโล่งให้กับสเปซทั้งหมดได้ดี ทั้งยังสามารถมองเห็นจากระเบียงห้องได้อีกด้วย

06พื้นที่ต่างระดับของห้องครัวกับห้องน้ำบริเวณทางเข้าจากโรงจอดรถ สะท้อนการออกแบบบ้านที่อิงไปตามบริบทของเนินดินในหมู่บ้านซึ่งมีความลาดชันต่างกันไป 

07ห้องครัวสีขาวเรียบเท่ดูเข้มขรึมขึ้นทันตาด้วยไอส์แลนด์กรุผิวสีดำท็อปไม้ล้อไปกับแนวโคมไฟแขวน 

09ชานบ้านเพดานสูงโปร่งเกือบ 7 เมตร ปูพื้นด้วยไม้สนนิวซีแลนด์ ส่วนระแนงไม้เทียมนั้นเป็นหนึ่งในดีเทลที่เจ้าของบ้านและสถาปนิกชื่นชอบ นอกจากจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับผิวหน้าอาคารแล้ว ยังช่วยกรองแสงเพื่อลดความร้อนก่อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้านได้ดี

10
มุมมองจากบริเวณโถงบันได ทางสัญจรหลักภายในบ้านซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อของสเปซที่อยู่ต่างระดับให้โยงใยเข้าหากัน

12
มุมมองจากบริเวณโถงบันได ทางสัญจรหลักภายในบ้านซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อของสเปซที่อยู่ต่างระดับให้โยงใยเข้าหากัน

11มุมมองจากบริเวณโถงบันได ทางสัญจรหลักภายในบ้านซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อของสเปซที่อยู่ต่างระดับให้โยงใยเข้าหากัน

13
มุมมองจากบริเวณโถงบันได ทางสัญจรหลักภายในบ้านซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อของสเปซที่อยู่ต่างระดับให้โยงใยเข้าหากัน

05พื้นที่ดับเบิ้ลสเปซกลางห้องนั่งเล่นและผนังกระจกบานเลื่อนรอบทิศทาง เป็นการหยิบยืมพื้นที่โดยรอบทั้งจากชั้น 2 และสนามหญ้าภายนอกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ทำให้สเปซของห้องนั่งเล่นที่กว้างขางเป็นทุนเดิมอยู่แล้วยิ่งรู้สึกกว้างและโปร่งโล่งเป็นทวีคูณ

08.2พื้นที่ดับเบิ้ลสเปซกลางห้องนั่งเล่นและผนังกระจกบานเลื่อนรอบทิศทาง เป็นการหยิบยืมพื้นที่โดยรอบทั้งจากชั้น 2 และสนามหญ้าภายนอกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ทำให้สเปซของห้องนั่งเล่นที่กว้างขางเป็นทุนเดิมอยู่แล้วยิ่งรู้สึกกว้างและโปร่งโล่งเป็นทวีคูณ

08คุณทอยและคุณจ๋อมในอีกหนึ่งอิริยาบทบนโต๊ะรับประทานอาหารกลางห้องนั่งเล่น 

14อ่างอาบน้ำภายในห้องนอนแบบโอเพ่นสเปซของคุณทอย ที่เน้นฟังก์ชัน เปิดโอกาสให้สามารถนอนแช่น้ำ ชมจันทร์หรือดูดาวได้ขณะแช่อ่าง
 15ห้องนอนใหญ่ของครอบครัวถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง โดยมีส่วนนั่งเล่นเชื่อมพื้นที่ทั้งสองเข้าหากันอย่างอิสระ โดยเฉพาะเมื่อเปิดประตูบานเลื่อนไม้ออกทั้งหมด นอกจากนี้สถาปนิกยังคงออกแบบให้ผนังห้องนอนเป็นบานกระจกรอบทิศทาง เพื่อเปิดรับลมและแสงสว่างจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน รวมถึงเปิดโอกาสให้ชมทัศนียภาพของเขาใหญ่โดยไร้สิ่งบดบังเมื่อเลื่อนม่านเก็บ

16ห้องนอนใหญ่ของครอบครัวถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง โดยมีส่วนนั่งเล่นเชื่อมพื้นที่ทั้งสองเข้าหากันอย่างอิสระ โดยเฉพาะเมื่อเปิดประตูบานเลื่อนไม้ออกทั้งหมด นอกจากนี้สถาปนิกยังคงออกแบบให้ผนังห้องนอนเป็นบานกระจกรอบทิศทาง เพื่อเปิดรับลมและแสงสว่างจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน รวมถึงเปิดโอกาสให้ชมทัศนียภาพของเขาใหญ่โดยไร้สิ่งบดบังเมื่อเลื่อนม่านเก็บ

17ห้องนอนใหญ่ของครอบครัวถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง โดยมีส่วนนั่งเล่นเชื่อมพื้นที่ทั้งสองเข้าหากันอย่างอิสระ โดยเฉพาะเมื่อเปิดประตูบานเลื่อนไม้ออกทั้งหมด นอกจากนี้สถาปนิกยังคงออกแบบให้ผนังห้องนอนเป็นบานกระจกรอบทิศทาง เพื่อเปิดรับลมและแสงสว่างจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน รวมถึงเปิดโอกาสให้ชมทัศนียภาพของเขาใหญ่โดยไร้สิ่งบดบังเมื่อเลื่อนม่านเก็บ

Leave A Comment