HIDE AND SEEK, PEEK A BOO

02

แฝงกายในอ้อมกอดของธรรมชาติ

 

Text: พีรยา เชื้อสุนทรโสภณ
Photo: W Workspace
Interior & Architect design: Padee Studio (0-2260-6070, 09-4192-8945)
จากคอลัมน์ Living Space, Daybeds 163 ฉบับเดือนเมษายน 2559

ธรรมชาติด้านงานออกแบบไม่ได้จำกัดเฉพาะอยู่เพียงแค่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่มาจากธรรมชาติเท่านั้น แต่เป็นการคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติของการอยู่อาศัยของเจ้าของบ้าน ด้วยการเชื่อมโยงเอาไลฟ์สไตล์มาผนวกเข้ากับฟังก์ชั่นการออกแบบ ที่จะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความสะดวกสบาย สามารถเพลิดเพลินกับทุกช่วงเวลาและปลดปล่อยความเป็นตัวเองได้อย่างไม่เคอะเขิน จนสามารถพูดได้ว่านี่แหละคือบ้านของฉัน บ้านที่เป็นฉัน ตัวตนทั้งหมดของฉันอยู่ที่นี่

K Residence Bangkok จึงเป็นบ้านที่เป็นการดึงเอาตัวตนของเจ้าของบ้านมาออกแบบ ทั้งอุปนิสัย คาแร็กเตอร์ ความสนใจและไลฟ์สไตล์ แต่ยังแฝงซึ่งเอกลักษณ์เล็กๆของผู้ออกแบบที่เปรียบเสมือนลายเซ็นลงในผลงาน ซึ่งทาง Padee Studio ได้มองเห็นถึงความสำคัญของบ้าน เพราะว่าบ้านเป็นของเจ้าของบ้าน ไม่ใช่ของดีไซเนอร์ผู้ออกแบบ

“บางคนออกแบบบ้านโดยใส่ตัวตนของดีไซเนอร์เข้าไปเต็มที่ โดยมีความเป็นเจ้าของบ้านน้อยมาก สำหรับเราคิดตรงกันข้าม เรารู้สึกว่าบ้านเป็นของเจ้าของบ้าน แปลว่า เขาจะเป็นผู้อยู่กับมันไปนานที่สุด ซึ่งนั่นไม่ใช่เรา ไม่ใช่คนออกแบบ แต่บ้านต้องมีคาแร็กเตอร์ มีความต้องการของเจ้าของ เพราะฉะนั้นดีไซเนอร์จึงมีหน้าที่สร้างความแตกต่าง ความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละที่พักอาศัย และต้องมีความกลมกล่อม ดึงความเป็นเจ้าของบ้านมาเจือลงไป เพราะจริงๆดีไซเนอร์สามารถดึงความท้าทายและคอนเซปต์งานที่เจ๋งๆได้อยู่แล้ว แต่แล้วการเจือตัวตนของเจ้าของบ้านล่ะ อันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องไม่ลืมมันเลย” คุณดี้-ภัชช วัฒนะวิรุณ Design Principal and Managing Director กล่าว

ด้วยความที่บ้านหลังนี้เจ้าของเป็นนักธุรกิจที่มีมิติทางความคิด และทำงานหลากหลาย รวมถึงมีของสะสมเยอะมาก ขณะเดียวกันก็มีความเป็นส่วนตัวสูงและมีความขี้เล่นแฝงอยู่ในตัว การออกแบบบ้านจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน ทำแต่ละมุมในบ้านให้มีความผ่อนคลาย แต่ยังคงพื้นที่ที่มีความสนุกสนานรวมอยู่ด้วย การรีโนเวตพื้นที่ชั้น 2 ขนาด 290 ตารางเมตร ของบ้านที่มีลักษณะคล้าย L Shape ในรูปแบบใหม่นี้จึงมีความท้าทายในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดให้สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่เดิม แต่พื้นที่ใหม่ก็ต้องมีความยูนีคและแตกต่างจากความเป็นสิ่งเดิม

พื้นที่คอร์ทเล็กๆที่เป็นเสมือนOutdoor Room ออกแบบโดยเชื่อมโยงสเปซตั้งแต่ภายนอกขึ้นมา โดยการสร้างสถาปัตยกรรมเป็นเฟรมกรอบของอาคารใหม่ทั้งหมดขึ้น และทำให้ส่วนเอาท์ดอร์อยู่ใน Enclosed Space ใช้มิติของเส้นสายทอดนำเข้าสู่ตัวบ้าน และมีการเจาะช่องเล็กช่องน้อย เพื่อเล่นกับพื้นที่ภายนอกเป็นจังหวะ เหมือนเป็นนัยบอกว่าเจ้าของต้องการความเป็นส่วนตัวเพิ่ม แต่ก็ยังคงเฟรนลี่

คุณดี้เล่าว่า “หน้าที่ของเราคือการออกแบบพื้นที่ให้เป็นสเปซซ่อนสเปซ ทั้งลูกเล่นสเปซ การลวงตา การเปิด การปิด การเจาะช่อง แหวกช่วงบน ช่วงล่าง เปิดข้างบ้าง เหมือนเป็นการเล่นซ่อนหาหน่อยๆ และทำไลท์ติ้งให้มีความแตกต่างมีมิติที่น่าสนใจ เพราะเจ้าของไม่ชอบ Direct Light จึงใช้การซ่อนไฟแบบ Indirectรวมถึงออกแบบเพื่อให้เจ้าของได้เติมเต็มด้วยของสะสมได้ทั้งหมด”

การเชื่อมโยงพื้นที่ภายในสู่ภายนอก เปิดตัวบ้านให้เปิดโล่งด้วยบานสไลด์ดิ้ง เข้าสู่พื้นที่ส่วน Casual Dinning ที่เจ้าของสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในขณะที่ก็สามารถปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้พร้อมกัน ด้วยการออกแบบเดย์เบดให้สามารถใช้พื้นที่ได้ทั้ง 2 ด้าน คือสามารถดูโทรทัศน์พร้อมพูดคุยกับฝั่งครัวได้ ซึ่งช่องข้างผนังก็ออกแบบโดยเจาะให้เกิดเป็นช่องว่าง ทำเป็น Reading Cocoon ให้สามารถเข้าไปขดตัวอ่านหนังสือได้

ถัดมาที่พื้นที่ห้องนั่งเล่น พื้นที่ส่วนตัวที่เสมือนหลุดเข้ามาอีกโลกหนึ่ง โอบล้อมโดยรอบด้วยความอบอุ่นของไม้ โดดเด่นด้วยโซฟาตัวใหญ่ที่ออกแบบเป็นพิเศษ ส่วนผนังด้านหลังทำเป็นลูกล้อเหล็กสีดำและรางเหล็กสามารถเปิดเลื่อนได้ เป็นการผสมผสานไม้ให้ออกเป็นกึ่งอินดัสเทรียลหน่อยๆ ซึ่งพื้นที่นี้สามารถเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เจ้าของ จากพื้นที่ที่ไม่เคยถูกใช้งาน แต่เขากลับออกมานอนดูโทรทัศน์แล้วหลับไปได้

จากพื้นที่ทางเดินที่เชื่อมสู่ห้องนอน อีกหนึ่งไฮไลท์ของบ้านที่ออกแบบเป็นดิสเพลย์ขนาดใหญ่ไว้เก็บตุ๊กตาของสะสม เสมือนเป็น Gallery Wall เมื่อเปิดไฟจะส่องให้ตู้มีความโดดเด่น คล้ายกับหิ่งห้อยในแพทเทิร์นที่แตกต่างกัน และออกแบบให้เกิดมิติลวงตาขึ้นในตัว ซ้อนกันอีกเลเยอร์ด้วยชั้นหนังสือขนาดใหญ่ด้านหลัง ที่ทำพื้นที่ด้านในเป็นชั้นพระ และตู้เซฟขนาดใหญ่ ที่เจ้าของต้องการให้มีความคล้ายกับตู้เซฟตามภาพยนตร์ต่างประเทศ

นอกจากนี้การแก้ปัญหาต่างๆก็นับเป็นความท้าทาย แต่จะทำอย่างไรให้เจ้าของเกิดภาวะอยู่สบายที่สุด “ปัญหาหลัก คือระบบปรับอากาศ ที่ควบคุมอุณหภูมิไม่ได้  เราใช้ทีมวิศวกรเข้ามาตรวจสอบ พบว่าพื้นที่ใต้ฝ้าค่อนข้างจำกัด ทำให้การวางท่อค่อนข้างจำกัดไปด้วย เราทำฝ้าให้กันเสียง เพื่อให้เสียงการทำงานของแอร์ลอดออกมาให้น้อยที่สุด ตำแหน่งช่องฟิลที่ปล่อยแอร์ ออกแบบให้สอดคล้องกับระดับฝ้าที่เราเล่นไว้ รวมถึงการใช้กระจกดับเบิ้ลเกรซซิ่งในส่วนของห้องที่ต้องการความเงียบ เช่น ห้องนอน เพื่อทำให้ห้องมีความสงบ สามารถพักผ่อนได้อย่างแท้จริง”

สิ่งที่ทาง Padee Studio ให้ความสำคัญรองจากตัวตนของเจ้าของแล้ว ก็คือเรื่องประสาทสัมผัสของมนุษย์ และ Living with nature ที่แทรกซึมอยู่ในงานออกแบบ “เพราะคนปัจจุบันไม่ค่อยได้อยู่กับธรรมชาติ เราต่างใช้เวลาที่รีบร้อน รีบเร่งอยู่ตลอดเวลา แต่เราจะทำอย่างไรให้เขารู้สึกอบอุ่น โคซี่ สามารถทิ้งตัวลงได้แล้วมีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เหมือนเป็นการเชื่อมโยงฟังก์ชั่นที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของตา เกิดเสียงจากการพูดคุย เกิดกลิ่นจากการทำอาหาร ชงกาแฟที่มันฟุ้งกระจาย เกิดผิวสัมสัมผัสผ่านเท็กซ์เจอร์ของวัสดุต่างๆ เกิดรสชาติจากการทำอาหารให้มีรสชาติดีขึ้น ด้วยการทำให้มีปฏิสัมพันธ์ในทุกด้าน กาแฟมันอร่อยขึ้นนะถ้าเราได้คุยกับคนดีๆ เพราะเราได้เจอเพื่อนที่ดีอาหารมื้อนี้เลยอร่อยขึ้น และสุดท้ายคือการมี Beyond Experience ที่เกิดจากการใช้พื้นที่แล้วสัมผัสได้ คือความอบอุ่นอยู่สบายนั่นเอง”

“เพราะคนปัจจุบันไม่ค่อยได้อยู่กับธรรมชาติ เราต่างใช้เวลาที่รีบร้อน รีบเร่งอยู่ตลอดเวลา แต่เราจะทำอย่างไรให้เขารู้สึกอบอุ่น โคซี่ สามารถทิ้งตัวลงได้แล้วมีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ”

ภัชช วัฒนะวิรุณ

01การออกแบบที่เชื่อมโยงสเปซทั้งหมด ด้วยการบิ้วท์อาคิเท็กซ์เจอร์ เป็นเฟรมกรอบอาคารใหม่ทั้งหมดขึ้น ทำเส้นสายที่วิ่งเข้าสู่พื้นที่ภายใน และมีการเจาะช่องเล็กช่องน้อย เพื่อเล่นกับพื้นที่ภายนอกเป็นจังหวะ

02พื้นที่สวนที่เป็นเสมือนเอาท์ดอร์รูม มีที่นั่งเล่นตามมุมต่างๆ เผื่อเวลาจัดปาร์ตี้ในบางช่วง สามารถมองเห็นพื้นที่ภายในได้ ขณะเดียวกันก็สามารถปิดกั้นพื้นที่ภายนอกได้ด้วยเช่นกัน

03เดย์เบดนอกบ้านสำหรับการใช้งานยามว่างเพื่อนั่งหรือนอนเล่นภายในสวนเล็กๆ

04พื้นที่ส่วนทานอาหารเชื่อมโยงกับส่วนห้องครัว จุดเด่นคือเดย์เบดที่สามารถนั่งได้ทั้งสองฝั่ง สำหรับเวลาที่มีปาร์ตี้ สร้างการมีปฎิสัมพันธ์กับทั้งฝั่งครัวและฝั่งลิฟวิ่ง โดยออกแบบจากฟังก์ชั่นการใช้งานและตัวตนของเจ้าของ

05
เพราะเจ้าของเป็นคนเนี้ยบ เลยออกแบบโต๊ะทานอาหารให้เป็นเหมือนบล็อกๆหนึ่งที่เก็บเข้าไปยามไม่ใช้งาน สามารถดึงออกได้ง่ายและสบายเมื่อนั่ง ส่วนโคมไฟ LEDออกแบบพิเศษ เชื่อมโยงกับเส้นโครงสร้างสถาปัตยกรรมจากภายนอก

06
เพราะเจ้าของเป็นคนเนี้ยบ เลยออกแบบโต๊ะทานอาหารให้เป็นเหมือนบล็อกๆหนึ่งที่เก็บเข้าไปยามไม่ใช้งาน สามารถดึงออกได้ง่ายและสบายเมื่อนั่ง ส่วนโคมไฟ LED ออกแบบพิเศษ เชื่อมโยงกับเส้นโครงสร้างสถาปัตยกรรมจากภายนอก

07
พื้นที่นั่งพิเศษที่เลือกเจาะเข้าไปในผนังให้เกิดเป็นช่องว่าง ทำฟังก์ชั่นให้สามารถเข้าไปขดตัวนั่งอ่านหนังสือได้

08
พื้นที่นั่งพิเศษที่เลือกเจาะเข้าไปในผนังให้เกิดเป็นช่องว่าง ทำฟังก์ชั่นให้สามารถเข้าไปขดตัวนั่งอ่านหนังสือได้

09ห้องเอ็นเตอร์เทนเมนท์ส่วนตัวที่ใช้การเล่นคอนทราสของสี ช่วงควอลิดอร์เปลี่ยนเป็นโทนไม้ ยกเสตปพื้น สร้างดิสเพลย์ไม้และโซฟาที่ออกแบบขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะเจ้าของ

10ห้องเอ็นเตอร์เทนเมนท์ส่วนตัวที่ใช้การเล่นคอนทราสของสี ช่วงควอลิดอร์เปลี่ยนเป็นโทนไม้ ยกเสตปพื้น สร้างดิสเพลย์ไม้และโซฟาที่ออกแบบขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะเจ้าของ

11ทางเดินเชื่อมไปยังห้องนอน เลือกทำมิติลวงตาซ่อนลูกเล่นด้วยเลเยอร์ระหว่างตู้ดิสเพลย์ของสะสมด้านหน้า และชั้นหนังสือด้านใน

12
ตำแหน่งบนคือชั้นพระ ส่วนด้านล่างเป็นตู้เซฟ ซึ่งเจ้าของอยากได้บานแบบตู้เซฟตามหนังฝรั่ง ใช้โลหะ สแตนเลส ติดเฟือง คล้ายกับประตูเรือดำน้ำ

13Hall of Frame ที่รวบรวมของสะสมต่างๆ เป็นตู้ดิสเพลย์ไม้วีเนียร์ที่ออกแบบมาให้มีแพทเทิร์นที่ไม่เหมือนกัน ที่มองดูเหมือนจะเหมือนแต่ไม่เหมือน

14 Hall of Frame ที่รวบรวมของสะสมต่างๆ เป็นตู้ดิสเพลย์ไม้วีเนียร์ที่ออกแบบมาให้มีแพทเทิร์นที่ไม่เหมือนกัน ที่มองดูเหมือนจะเหมือนแต่ไม่เหมือน

Leave A Comment