เอสซีจี โชว์ศักยภาพนวัตกรรม-เทคโนโลยี

ฟื้นฟูหลังแผ่นดินไหวเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมเสริมแกร่งรับมือภัยพิบัติ ในงาน MIT Disaster Management Conference”

 

เอสซีจี นำโดย นายปรเมศวร์ นิสากรเสน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ – การบริหารกลาง เอสซีจี เข้าร่วมเสวนาในงาน “MIT Disaster Management Conference: Building a More Resilient ASEAN through Technology, Innovation and Design ณ วันแบงค็อก ฟอรัม โดยได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในช่วง Industry Discussion หัวข้อ Building for a More Resilient Future ซึ่งนำเสนอการทำงานร่วมกันระหว่าง One Bangkok และเอสซีจี ที่ร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจที่พร้อมเตรียมรับมือกับภัยพิบัติธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เน้นการลดคาร์บอนจากการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการยกระดับมาตรฐานงานวิศกรรมโครงสร้างของประเทศด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีสำหรับการก่อสร้างต่างๆ และเป็นต้นแบบของการพัฒนาโครงการในประเทศไทยที่ต้องคำนึกถึงมาตรฐานความปลอดภัยและความยั่งยืนระยะยาว นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของกระบวนการบริหารจัดการภัยพิบัติทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้องค์กรพร้อมรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินตลอดเวลา และสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับภายในงานยังมีการจัดบูธนิทรรศการร่วมนำเสนอนวัตกรรมคอนกรีตกำลังอัดสูง ซีแพค และเทคโนโลยี สำหรับงานซ่อม เสริมกำลัง จาก CPAC SB&M Lifetime Solution  ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรญี่ปุ่น Shobond & Mitsui Infrastructure Maintenance Corporation หรือ SB&M ผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมแซมเชิงลึกที่มีประสบการณ์กว่า 60 ปี ทั้งด้านเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์ และการพัฒนานวัตกรรมซ่อมแซมโดยเฉพาะสำหรับสภาพแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนแสดงถึงศักยภาพผู้นำด้านเทคโนโลยีคอนกรีตและความพร้อมในการเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านการซ่อมแซมและบำรุงรักษาโครงสร้างแบบครบวงจรที่รองรับปัญหาด้านภัยพิบัติ       

         

*****************************************************************

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

นวัตกรรมด้านวัสดุซ่อมแซมโครงสร้าง เสริมกำลัง จาก CPAC SB&M Lifetime Solution

  • LOW PRESSURE – INJECTION ใช้สำหรับซ่อมแซมรอยร้าวขนาดเล็กบนผิวคอนกรีต เพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้เข้าไปทำอันตรายเหล็กเสริมภายในจนเป็นสนิมส่งผลให้เกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าเดิมจนกระทั่งโครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับน้ำหนักซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ในที่สุด
  • HB SHEET ใช้สำหรับติดที่ผิวของโครงสร้างคอนกรีต เพื่อป้องกันการร่วงหล่นของเศษคอนกรีตที่เสื่อมสภาพจากความชื้นและสารเคมีก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เหมาะสำหรับสะพาน อุโมงค์ ทางลอด ท้องคาน และท้องพื้น
  • SBQ MORTAR ใช้สำหรับงานซ่อมแซมรอยร้าวจนถึงความเสียหายขนาดใหญ่ของพื้นผิวทางและงานถนน วัสดุ
    มีประสิทธิภาพสูง สะดวก ใช้งานง่าย ใช้ระยะเวลาในการทำงานน้อย สามารถเปิดใช้งานได้อย่างรวดเร็
  • DAMPING SYSTEM นวัตกรรมการเสริมกำลังเทคโนโลยีขั้นสูงจากประเทศญี่ปุ่น ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “Damper” ในการลดแรงสั่นสะเทือน ช่วยป้องกันความเสียหายของโครงสร้างอาคาร

เทคโนโลยีคอนกรีตสมรรถนะสูง

  • CPAC High Strength Concrete นวัตกรรมคอนกรีตกำลังอัดสูง ซีแพค สำหรับงานโครงสร้างอาคารสูง ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นให้มีความแข็งแกร่ง สามารถรับน้ำหนักงานโครงสร้างขนาดใหญ่ได้ เนื้อคอนกรีตมีความเรียบเนียนสม่ำเสมอ และ CPAC Low Heat Concrete คอนกรีตความร้อนต่ำสูตรพิเศษ รองรับกำลังอัดสูงถึง 600 ksc สำหรับงานฐานรากขนาดใหญ่ เพื่อให้คุณภาพโครงสร้างของอาคารสามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบและต้านทานกับภัยพิบัติต่างๆในปัจจุบันได้ดี

ระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป ซีแพค

  • เทคโนโลยีการก่อสร้าง ระบบ Precast Concrete System สำหรับบ้านพักอาศัย และอาคาร CPAC Precast Concrete System พัฒนา และออกแบบระบบรอยต่อโครงสร้างพรีแคส ให้สามารถทนต่อแรงแผ่นดินไหว โดยผ่านการรับรองจากสถาบัน AIT ว่าสามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้อย่างแข็งแรง ปลอดภัย ระบบป้องกันการรั่วซึม จาก CPAC เป็นระบบ Double Protection ที่มีการใช้วัสดุอุดรอยต่อป้องกันถึง ชั้น สำหรับระบบ Wet Joint ซึ่งเหมาะกับงานบ้านพักอาศัยที่ตัวแผ่นผนังจะฝัง Wireloop หรือวัสดุเชื่อมที่เป็นตัวGalvanized Steel ที่ออกแบบและผลิตตามมาตรฐานยุโรปซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมลดปัญหาการแตกหักเสียหายจากการงัดหรือดึงอุปกรณ์และสะดวกรวดเร็วในการติดตั้งหน้างาน หลังจากนั้นจะปิดทับด้วย CPAC Non-Shrink Grout และ CPAC Epoxhesive ตามลำดับ ส่วนระบบ Dry Joint ใช้กับงานอาคารจะออกแบบให้เป็นบางใบในส่วนหัวท้ายของแผ่น โดยด้านข้างแผ่นจะอุดรอยต่อด้วย Backing Rod และปิดทับอีกชั้นด้วย CPAC Modified Silicone แผ่นพื้นและรอยต่อของพรีคาสคอนกรีต SCG ได้รับการออกแบบและทดสอบแล้วว่าสามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่

ระบบโพสเทนชั่น ซีแพค

  • เทคโนโลยีการก่อสร้าง ระบบพื้น Post – Tension ระบบพื้น CPAC Post-Tension สามารถรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว เพราะการทำพื้นโพสเทนชั่นจะก่อให้เกิดแผ่น diaphragm ในแนวระนาบ จึงช่วยกระจายแรงภายนอกที่มากระทำด้านข้างให้แผ่ขยายไปทั่วแผ่นพื้นของตัวอาคาร  โดย CPACออกแบบพื้นโพสเทนชั่นให้รับการต้านทานการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวตามมาตรฐานกฎกระทรวงปี2564 หรือ มยผ.1301/1302-61 พื้น Post-Tension สามารถลดความสูงของอาคารได้ เนื่องจากไม่ต้องมีคานทำให้ความสูงของแต่ละชั้นลดลงได้ตั้งแต่ 30-60 cm ดังนั้นอาคารที่ใช้พื้น Post-Tension จึงให้จำนวนชั้นและพื้นที่ใช้สอยมากกว่า ซึ่งจะให้ผลตอบแทนการลงทุนในที่ดินสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารที่ก่อสร้างในพื้นที่ที่มีการจำกัดความสูงของอาคาร ประโยชน์ด้านโครงสร้าง  เนื่องจากแผ่นพื้นอยู่ภายใต้แรงอัดตลอดเวลาจึงทำให้ทนต่อการแตกร้าวได้ดี และในกรณีที่มี overload มากพื้นอาจเกิดรอยร้าวได้ แต่เมื่อเอาน้ำหนัก overload ออกรอยร้าวก็จะลดลงน้อยไป พื้น Post-Tension สามารถรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้มากกว่าพื้นปกติเพราะการทำพื้น Post-Tension จะก่อให้เกิดแผ่น Diaphragm ในแนวระนาบซึ่งช่วยกระจายแรงภายนอกที่มากระทำด้านข้าง ให้แผ่ขยายไปทั่วแผ่นพื้นของตัวอาคาร

Leave A Comment